กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
รหัสโครงการ 64-L7258-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 437,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุลจิรา ธีรชิตกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ได้หลายโรค เช่น หนู นำโรคพิษสุนัขบ้า โรคเลปโตส  ไปโรซิส โรคสครัปไทฟัส โรคหนอนพยาธิต่าง ๆ และโรคแบคทีเรีย แมลงสาบ นำโรคที่สำคัญ คือปล่อยสารก่อภูมิแพ้  ทำให้เป็นหอบหืด โรคจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตชัว และไวรัส ส่วนแมลงวันนำโรคอหิวาตกโรค เชื้อบิด    เชื้อไข้รากสาด เชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ มีการอาศัยอยู่ของประชาชนค่อนข้างหนาแน่นปัญหาที่สำคัญ คือ ขยะมูลฝอยที่เกิดจากบ้านเรือน แหล่งชุมชนมีปริมาณค่อนข้างมาก การจัดสร้างอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ปัญหาจากการเกิดอุทกภัยและเหตุอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มปริมาณของสัตว์พาหะนำโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ไม่เพียงแต่ในชุมชมที่พบว่ามีหนูค่อนข้างชุกชุม แม้แต่ในตลาดซึ่งเป็นสถานที่จัดจำหน่ายสินค้า เป็นสถานที่ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายมาติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการ พบว่าความสะอาด    ของตลาด รวมถึงการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดแหล่งรังโรคของสัตว์พาหะหลายชนิด โดยเฉพาะหนู เดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ สำนักงานควบคุมโรคที่ ๑๒ สงขลา ได้ลงดำเนินการสุ่มจับหนูภายในตลาดสด  เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้แก่ตลาดกิมหยง ตลาดพลาซ่า ๑,๒,๓ และตลาดทัวร์รัถการ จำนวนตัวอย่างหนู ๒๐๐ ตัว ทำการตรวจเลือด พบความชุกของโรคฉี่หนูคิดเป็นร้อยละ ๒๕ ซึ่งถือว่ามีอัตราเสี่ยงสูงในการนำโรคฉี่หนู มาสู่ประชาชนที่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณที่เสี่ยง ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค ได้จัดทำโครงการ“เฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู” มาอย่างต่อเนื่อง และผลจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ การเกิดโรค พบว่าปี พ.ศ.๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๑๔ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ พบผู้ป่วย ๑๑ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วย ๑๒ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยจำนวน 6 รายและตั้งแต่ 1 ม.ค.2563 ถึง 27 ต.ต.2563 พบผู้ป่วยจำนวน 7 ราย

  หนูเป็นสัตว์ที่มีการแพร่พันธุ์ค่อนข้างรวดเร็ว สามารถเพิ่มปริมาณได้ในระยะเวลาอันสั้น และเคลื่อนที่ไปหาอาหารตามจุดต่าง ๆ การดำเนินการควบคุมการแพร่พันธุ์ จึงต้องมีความต่อเนื่องและดำเนินการรณรงค์อย่าง    พร้อมเพรียง ในห้วงเวลาเดียวกัน จึงจะช่วยลดปริมาณหนูและลดการแพร่พันธุ์ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกเรื่องความสะอาดหลังการดำเนินการกำจัดหนู จะช่วยลดแหล่งอาหารและแหล่งแพร่พันธุ์ของหนูลงได้   จากรายงานผลการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรค แม้จะพบว่ามีผู้ป่วยแต่ละปีจำนวนน้อยและไม่มีการระบาดของโรคในวงกว้าง แต่พบผู้ป่วยทุกปีและหนูได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชน ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อชุมชน ตลาดและแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้นฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู”ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้ปลอดจากโรค รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของตลาดสดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจในความสะอาดและปลอดภัยจากโรคที่เกิดจากหนูเป็นพาหะ


ทั้งนี้งบประมาณในการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ในการกำจัดหนู ใช้กรณีงบประจำที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมดำเนินงานป้องกันโรค โดยประชาชนมีส่วนร่วม

ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรมรณรงค์กำจัดหนู

0.00
2 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาร่วม ป้องกันและกำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรค

ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย มีความตระหนักเรื่องโรคที่มีหนูเป็นพาหะและให้ความร่วมมือ ในการป้องกันและกำจัดหนู

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคที่มีหนูเป็นพาหะ

ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคที่มีหนูเป็นพาหะ โดยการประเมินเฝ้าระวังสถานการณ์การเกิดโรค

0.00
4 เพื่อรณรงค์กำจัดหนูที่เป็นพาหะนำโรค

อัตราส่วนการเกิดโรคฉี่หนูลดลงร้อยละ ๒๐ เปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 437,600.00 1 411,960.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์กำจัดหนูในเขตเทศบาลนครหาดใหญ๋ 200 412,000.00 411,960.00
1 ธ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องหนูและโรคฉี่หนูแก่ประชาชน คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการตลาดสด ตัวแทนพ่อค้า แม่ค้า อสม. และนักเรียน 200 25,600.00 -

๑. จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงาน
๒. จัดทำโครงการ และเสนอต่อผู้บริหาร
๓. ประชุมประธาน คณะกรรมการชุมชน อสม. และคณะกรรมการตลาด ทุกแห่งในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่  เพื่อกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดหนูโดยประชาชนมีส่วนร่วม
๔. กำหนดรูปแบบตามความประสงค์ของทุกภาคส่วน โดยให้ใช้รูปแบบตามที่ส่วนใหญ่เห็นด้วย

๕. รณรงค์กิจกรรมตามรูปแบบที่ได้กำหนดร่วมกัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคจากหนูเป็นพาหะนำโรคลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินโครงการ

  2. ประชาชนและผู้ประกอบการเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนความรู้และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และกำจัดสัตว์นำโรค

  3. ประชาชนไม่เดือดร้อนรำคาญจากการที่หนูเข้าไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญในบ้าน ในร้านค้าและในตลาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 14:58 น.