กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ควบคุมป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ครั้งที่ 2/64 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
รหัสโครงการ 64-L7258-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 15 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 712,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจุลจิรา ธีรชิตกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยุงลายเป็นสัตว์พาหะนำโรคที่สำคัญ เพราะสามารถทำให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ถึง ๓ โรค คือ ไข้เลือดออก  โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ดังนั้นการกำจัดยุงลาย จึงเป็นมาตรการควบคุมและป้องกันโรคที่สำคัญ         สถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ข้อมูลย้อนหลัง ๕ ปี พบว่า สถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558-ตุลาคม ปีพ.ศ.2563 ปี พ.ศ.    จำนวนผู้ป่วย    ผู้เสียชีวิต 2558            292          - 2559            553          2 2560            343          1 2561            219          - 2562            265            - 1 ม.ค.– 27 ต.ค.63 50          -

        จากผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดีขึ้นเป็นลำดับ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงได้รับการคัดเลือกเข้ารับรางวัล การบริหารจัดการโรคไข้เลือดออกดีเด่น จากกรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ และในปี พ.ศ.๒๕๖๓ สถานการณ์ของโรคลดต่ำลงมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา         ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ    เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุม รวมทั้งปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย      แหล่งเพาะพันธุ์โรค การเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีการบูรณาการ การทำงานเชิงรุก      จากทุกภาคส่วนในชุมชนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานร่วมกัน
ในส่วนของสถานการณ์โรคชิคุนกุนยา ซึ่งทิ้งช่วงการระบาดมานานเกือบ ๑๐ ปี พบการระบาดครั้งล่าสุด  ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ หลังจากนั้นไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จนกระทั่งปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยชิคุนกุนยารายแรกจึงได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ และวางแผนการปฏิบัติงานป้องกัน  และควบคุมโรค และได้พบการระบาดของโรคในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา จากศูนย์ระบาดวิทยาโรงพยาบาลหาดใหญ่ทั้งสิ้น ๑,๑๖๖ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๓ ถึง ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ จำนวนทั้งสิ้น ๖ ราย ส่วนสถานการณ์ของโรคไวรัสซิกาไม่พบรายงานผู้ป่วยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ แม้ว่าโรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะ ไม่รุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เหมือนไข้เลือดออก  แต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยเฉพาะโรคชิคุนกุนยา มีระยะฟักตัวสั้น และระบาดอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยที่หายจากอาการไข้ บางคนจะมีอาการปวดในข้อ    และกระดูกเรื้อรังได้นานเป็นปี ดังนั้นการดูแลให้ประชาชน ปลอดภัยจาก ๓ โรค ที่มียุงลายเป็นพาหะดังกล่าวข้างต้น เป็นภารกิจสำคัญ  ที่ต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ และมีความสำคัญที่ต้องดำเนินงานอย่างเคร่งครัดภายใต้มาตรการ  ในการกำจัดยุงลาย ทั้งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ การกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้      เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย ปลอดโรคจากยุงลายเป็นพาหะ ทั้งนี้งบประมาณในการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ในการกำจัดยุง ใช้กรณีงบประจำที่ตั้งไว้ไม่เพียงพอในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ และแนวทางปฏิบัติ ที่ถูกต้องให้กับประชาชนเพื่อใช้ในการดูแล ป้องกันโรคได้ถูกต้อง

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูและตนเองครอบครัวและชุมชน
2.สถานการณ์ของโครอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

0.00
2 เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านประสบการณ์ และวิชาการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประสบการณ์ และวิชาการที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและซักถามปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค ผ่านการจัดรายการวิทยุคลื่น FM ๙๖.๐
ทางโทรศัพท์ เวบไซด์ของเทศบาล

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการแก้ไข ปัญหาโรคที่เกิดจากยุงลาย

ชุมชนมีความเข้มแข็งในการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

0.00
4 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกันและควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  1. ประชาชนร้อยละ ๘๐ มีความตระหนักถึงปัญหาและให้ ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ๒. สำรวจภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนร่วมกิจกรรมกับอสม. ค่า HI น้อยกว่า ๑๐
0.00
5 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัด หรือควบคุมแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และ ทางเคมีภาพ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงมากกว่าร้อยละ๒ ต่อแสนประชากรลดลงจากค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี
  2. อัตราป่วยด้วยโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ได้แก่ โรคชิคุนกุนยา โรคไวรัสซิกาลดลง
0.00
6 เพื่อบูรณาการงานจากทุกภาคส่วน สร้างเครือข่าย ร่วมกันในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม กำจัดและลด แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

เกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมกันดำเนินการ ป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ วัด  โรงเรียน      ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 712,450.00 1 463,600.00
1 ธ.ค. 63 - 16 ส.ค. 65 ขออนุมัติจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ (น้ำยาพ่นยุงและแว็คโทแบค) 0 484,000.00 463,600.00
1 ธ.ค. 63 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 9,000.00 -
1 ธ.ค. 63 - 15 ก.ย. 64 กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์ 0 99,450.00 -
1 ธ.ค. 63 - 15 ก.ย. 64 งบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสเปรย์หอมกันยุง 0 120,000.00 -

ระยะเตรียมการ 1. วิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มการเกิดโรค

  1. วิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาที่พบในชุมชนจากการทำงานเชิงรุก

  2. นำข้อมูลเข้าร่วมปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ ในการดำเนินงานโรคติดต่อนำโดยแมลง

  3. สรุปผลและหามาตรการดำเนินงาน

  4. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

ระยะดำเนินการ

๑. จัดทำแผนการดำเนินงาน กิจกรรมตามโครงการที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติ

  1. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ

  2. จัดกิจกรรมอบรมความรู้เรื่องยุงลาย โรคที่เกิดจากยุงลาย และการควบคุมป้องกันโรค

  3. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชุมชนทั้ง ๔ เขต จำนวน ๘ ครั้ง เขตละ (2 ครั้ง)

  4. จัดกิจกรรมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่บ้าน ประชาชนในเขตพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค สุ่มสำรวจเดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน ๓ ครั้งและมอบป้ายบ้านนี้ปลอดลูกน้ำยุงลาย

  5. จัดทำแผน ติดตาม การดำเนินงานหลังการจัดกิจกรรม เพื่อประเมินผลและกระตุ้นการดำเนินงานให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการเกิดโรคที่มียุงลายเป็นพาหะลดลงเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ

  2. เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีการพึ่งตนเองเกิดเป็นชุมชนจัดการสุขภาพ

  3. ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนมีความรู้ และพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

  4. เกิดนวัตกรรมของชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรค

  5. เกิดเครือข่ายป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ

  6. สร้างความรับผิดชอบและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในโรงเรียน

  7. เกิดชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 15:24 น.