กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64 – L5246 – 1 - .............
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 103,180.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.796,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6956 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 25,708 ราย เสียชีวิตแล้วจำนวน 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15 - 24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับ และพบว่ามีการกระจายตัวของผู้ป่วยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย (กรมควบคุมโรค, 2563) อีกทั้งในช่วงฤดูฝนโอกาสพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะยิ่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนักและฝนตกสะสมทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะ และวัสดุต่างๆ ที่สามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน คือ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ยังคงต้องดำเนินการเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้แนะมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ซึ่งเป็นมาตรการที่มุ่งเน้นไปที่การควบคุมการแพร่พันธุ์ของยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยมีหลักการ ดังนี้ 1.) เก็บบ้าน บ้านที่เป็นระเบียบร้อยนอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ก็ยังทำให้บรรยากาศมีความปลอดโปร่ง จึงไม่มีที่ให้ยุงลายไปหลบซ่อนอยู่ 2.) เก็บขยะ กองขยะในบ้านนอกจากจะดูไม่สวยงามแล้ว เมื่อฝนตกลงมาอาจเกิดน้ำขังและกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ในที่สุด 3.) เก็บน้ำ แหล่งน้ำในบ้านนั้นอาจกลายเป็นที่ที่ยุงลายใช้แพร่พันธุ์ได้หากไม่ดูแลให้ดี โดยเฉพาะแหล่งน้ำนิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ต้องปิดให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ หรือเลี้ยงปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทั้งนี้การปฏิบัติตามมาตรการนี้จะช่วยป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะทั้ง 3 โรคได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ซึ่งการป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป

        ด้วยเหตุนี้ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ จึงมีความประสงค์ที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯเพื่อจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อป้องกันโรคล่วงหน้า และควบคุมโรคได้ทันท่วงทีที่เกิดโรค โดยอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาคีเครือข่าย รวมถึงภาคประชาชน ร่วมกันควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยต่อโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย

อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง
3 ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 13864 103,180.00 2 29,790.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านของตน 6,932 5,000.00 0.00
14 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 พ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดยุงลาย ทั่วพื้นที่ หมู่ที่ 1-8 ต.ท่าโพธิ์ และกรณีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกหรือโรคปวดข้อยุงลาย พ่นบริเวณบ้านผู้ป่วย รวมถึงรอบรัศมีบ้านผู้ป่วย 100 เมตร 6,932 98,180.00 29,790.00
  1. เสนอแผนปฏิบัติการกองทุนฯ และเขียนโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
  3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดกิจกรรมดำเนินการตามโครงการ
  5. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย
  2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคปวดข้อยุงลาย ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2564 22:12 น.