กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านขายของชำ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป
วันที่อนุมัติ 26 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 14,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีสน รัษฎาปริวรรต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารนั้นมีสารที่ เป็นอันตรายปนเปื้อน หรือแม้แต่มีสารที่อนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่มีปริมาณที่มากกว่าที่กำหนดก็ย่อมให้เกิด พิษภัยกับผู้บริโภค ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เป็นสิ่งที่รัฐหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต้องให้การสนับสนุน ควบคุม ดูแล เฝ้าระวัง และป้องกัน ให้กับประชาชน เน้นให้ประชาชนได้บริโภค อาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าอย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ปัจจุบันปัญหาสำคัญที่พบในอาหารสด มักจะมีสาร ปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อาจเกิดผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาวหรืออาจถึงกับชีวิตได้ ส่วนใหญ่ร้านค้าจะเห็นประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผู้บริโภค ทำให้ได้รับสาร ปนเปื้อนเข้าไปสะสมในร่างกาย และอีกอย่างการอ่านฉลากสินค้าก็จำเป็นต่อการเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งการอ่านฉลากก่อนซื้อก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เนื่องจากฉลากอาหารเป็น แหล่งข้อมูลพื้นฐานที่จะบอกว่าอาหารนั้นผลิตที่ใด มีส่วนประกอบอะไร มีการปรุง การเก็บรักษาอย่างไร ผลิต และ/หรือหมดอายุเมื่อใด มีการใช้สารหรือวัตถุเจือปนชนิดใด รวมถึงคำเตือนที่ควรระวัง และที่สำคัญได้รับ อนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก อย.หรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ซึ่งมีเลขสาระบบอาหาร 13 หลัก อยู่ ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. อีกส่วนหนึ่งที่ผู้บริโภคควรให้ความสนใจเนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลที่จะช่วยให้เรา ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมนั่นก็คือ “ฉลากโภชนาการ” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงโป ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ อบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านขายของชำ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง การพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ร้านขายของชำและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาล อาหาร

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารสามารถพัฒนาร้านให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำมีความรู้ในการเก็บดูแลผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่ายให้กับลูกค้าและ สามารถดูวันเดือนปีที่หมดอายุได้

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ถูกหลัก สุขาภิบาลอาหารและสามารถอ่านวันเดือนปีที่หมดอายุได้

 

0.00
5 เพื่อสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดกิจกรรมตามโครงการอบรม ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่าย อาหารและร้านขายของชำให้ผ่านเกณฑ์ มาตรฐาน ตำบลตันหยงโป อำเภอเมือง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้ มาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2564 11:28 น.