กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลอดบุหรี่ในศาสนสถาน
รหัสโครงการ 60-L7012-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอีหม่ามเทศบาลตำบลบ่ทอง
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 200,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำหมัด หะยีแวสอเหาะ อีหม่าม ม.3
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกีเวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.789,101.135place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้น เรื้อรังโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2549พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1ใน4 หรือกว่า 2ล้านคน พื้นที่เทศบาลตำบลบ่อทอง มีศาสนสถาน ทั้งหมด10 แห่ง โดยแยกเป็น มัสยิด 9 แห่ง วัด1 แห่งและมีประชนชนที่มาประกอบศาสนกิจมีพฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ในเขตศาสนสถาน จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์และช่วยให้สมาชิกในชุมชนเลิกบุหรี่ได้

 

2 เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1ประชุมคณะทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ และจัดประชุมคณะทำงานระดับตำบล 2.2 ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบและให้ความร่วมมือความสนใจเข้าร่วมโครงการ 2.3จัดทำทะเบียน กลุ่มติดบุหรี่ กลุ่มเสี่ยงรวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น จำนวนร้านค้าขายบุหรี่ในชุมชน ร้านขายบุหรี่ที่ใกล้กับสถานศึกษา ฯลฯ
2.5สนับสนุนให้ชุมชนจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นศาสนสถานปลอดบุหรี่ และจัดงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่สอดคล้องกับงานประเพณี
2.51 จัดประชุมกรรมการมัสยิด/วัด เพื่อแจ้งเรื่องการดำเนินงานตามโครงการ 2.5.2 จัดทำนโยบายและประกาศ ศาสนสถานปลอดบุหรี่ 2.5.3 จัดระบบเฝ้าระวังโดยแกนนำชุมชน อาสาสมัคร อสม.ในกลุ่มเสี่ยง 2.5.4 ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่ 2.5.5จัดอบรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ 2.6สนับสนุน ให้ความรู้ ช่วยเหลือให้เข้าถึงบริการ และสร้างแรงจูงใจเลิกบุหรี่ “กลุ่มติดบุหรี่” 2.6.1สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่ให้เข้าร่วมโครงการ 2.6.2 ร่วมมือกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่อส่งต่อผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เข้า รับคำปรึกษาแนะนำและรักษา 2.6.3 สนับสนุนสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มติดบุหรี่เลิกบุหรี่: รางวัลคนต้นแบบ (เลิกสูบบุหรี่) 2.6.4สนับสนุนให้มีกลุ่ม/ชมรมเลิกบุหรี่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ศาสนสถานมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดละเลิกบุหรี่ 2มีคนต้นแบบในชุมชนที่สามารถเลิกบุหรี่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2560 12:29 น.