กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวสัมพันธ์
รหัสโครงการ 64-L2532-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลมาโมง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 18,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลมาโมง
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนฯ อบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก อันเป็นผลพวงมาจาก การพัฒนาประเทศและการดิ้นรนต่อสู้ของประชาชนเพื่อการดำรงชีวิต สถาบันครอบครัวไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น การพัฒนาตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลักให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย หรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นการพัฒนาแบบแยกส่วน ทำให้เกิดกระบวนการดึงคนออกมาจากครอบครัว แยกพ่อแม่ ลูกหลาน ปู่ ย่าตายาย ออกจากกัน ซึ่งผลของการพัฒนานั้นแม้จะทำให้ครอบครัวไทยมีภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีความสุขสบายด้านวัตถุมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่เคยแนบแน่นและอบอุ่นก็เริ่มเลือนหายไป เปลี่ยนแปลงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่นดังก่อน ความผูกพันกันในเชิงอารมณ์และความรู้สึกมีค่อนข้างน้อย คนในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันน้อยลง พ่อแม่มีหน้าที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และวัตถุเพื่อมาเลี้ยงดู ปรนเปรอความสุขให้ลูก ส่วนลูกซึ่งต้องทำหน้าที่เรียนหนังสือ ก็ถูกวัฒนธรรมต่างชาติและอบายมุขชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย การเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เป็นไปตามยถากรรม เด็กๆเรียนรู้ชีวิตด้วยตนเองจากสังคมนอกบ้านมากกว่าสังคมในบ้าน สภาพการณ์เช่นนี้หลายคนมองว่าสถาบันครอบครัวไทยกำลังตกต่ำอยู่ในสภาพใกล้ล่มสลาย ไม่มีความเป็นครอบครัวเหลืออยู่ ดังนั้นสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันหลัก เป็นแกนกลางของสังคมไทย ที่เป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อ การดำรงชีวิต ครอบครัวมีหลากหลายรูปแบบ หลายลักษณะนอกจากครอบครัวที่สมบูรณ์ทั้งบิดา มารดา และบุตร สมาชิกในครอบครัวต้องรู้จักรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ของตน สามารถผนึกกำลังเป็นพลัง สร้างคนในครอบครัวให้มีความสุขและมีคุณภาพ ทุกคนต้องตระหนักว่าตนเองมีหน้าที่สร้างครอบครัวให้มั่นคง ด้วยการกระชับความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว โดยการมอบความรักความเข้าใจ ความเอื้ออาทรให้กันและกัน เนื่องจากครอบครัวที่อบอุ่น จะช่วยเป็นภูมิต้านทานปัญหาต่างๆ และยังช่วยเสริมสร้างสังคมให้น่าอยู่และสันติสุขมากขึ้น “ครอบครัว” เป็นสถาบันแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันพื้นฐานที่บทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการถ่ายทอดค่านิยมปลูกฝังความเชื่อสร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตนรวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ นอกจากนี้รวมครอบครัวยังเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือดูแลเยียวยาบำบัดฟื้นฟู ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหา วิกฤตที่มากระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า ครอบครัวเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการพัฒนาคนและประเทศชาติให้เจริญมั่นคงอย่างยังยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องความเป็นครอบครัวที่เข้มแข็งที่มีระบบเครือญาติและสายใยผูกพันมาช้านาน อย่างไรก็ตาม บทบาทของสถาบันครอบครัวเริ่มมีแนวโน้มอ่อนแอลง ไม่สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดปัญหาสังคมในรูปแบบต่างๆ เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากครอบครัว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมีมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุในชนบทเป็นจำนวนมากถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง หรือต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานเพราะพ่อแม่ต้องออกไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว
ปัญหาในครอบครัวอาจแสดงอาการออกได้หลายรูปแบบ เช่น บางคนมีความเครียด ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ชีวิต จนอาจถึงคิดอยากตาย อาจมีการทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต เรื้อรัง จนอาจทำให้สมาชิกในครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช หรือป่วยทางจิตเวชได้หลายคน เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้น จึงช่วยป้องกันปัญหาทางจิตเวช และความเจ็บปวดทางกายได้ ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลมาโมง จึงได้จัดทำโครงการ“ครอบครัวสัมพันธ์” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทั้งสามช่วง คือ วัยเด็กถึงวัยคู่ครอง วัยกลางคนถึงวัยพ่อแม่ และวัยสูงอายุ ได้มีปฏิสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจต่อกันมากยิ่งขึ้น การมีสุขภาพจิตที่แข็งแรง อีกทั้งเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยของคนในครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแนบแน่น รักใคร่กลมเกลียวผูกพันกันมากยิ่งขึ้น มีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการ บูรณาการร่วมกันทั้งสามวัยมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้มากขึ้นภายในครอบครัวสร้างความรัก ความสามัคคีและเพิ่มสายใยรักที่ดีต่อกันภายในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครอบครัวมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาในครอบครัวของตนเอง

 

0.00
2 เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

 

0.00
3 เพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัวในชุมชนให้มีความแข็งแรง และคนในครอบครัวมีสุขภาพจิตที่ดี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ครอบครัวมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาในครอบครัวของตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพและมีความสุข

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อพัฒนาสถาบันครอบครัวในชุมชนให้มีความแข็งแรง และคนในครอบครัวมีสุขภาพจิตที่ดี

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 1.อบรมให้ความรู้ เรื่องสถาบันครอบครัว/บทบาทของสมาชิก การสร้างความสุขสัมพันธในความครัว ฯลฯ 0.00 0.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 2.นันทนาการ 0.00 0.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 3.ครอบครัวสัมพันธ์แบบกลุ่ม 0.00 0.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 4.เบิกค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 0.00 750.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 5.เบิกค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม 0.00 7,500.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 6.เบิกค่าวิทยากร 0.00 6,000.00 -
7 ม.ค. 64 - 15 ก.ย. 64 7.จัดซื้อวัสดุในการฝึกอบรม 0.00 4,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมคณะทำงาน ปรึกษาหารือกิจกรรมในโครงการ 2.จัดทำโครงการ เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.มาโมง
  2. รับสมัครครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม
  3. ติดต่อประสานงานกับบุคลากรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 5 ดำเนินกิจกรรม
    • อบรมให้ความรู้เรื่อง สถาบันครอบครัว , บทบาทของสมาชิกในครอบครัว , การสร้างความสุขสัมพันธภาพในครอบครัว , ความรุนแรงในครอบครัว ,ความเสมอภาคระหว่างชายและหญิง ,    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาครอบครัวและวิธีการแก้ไข , การดูแลสุขภาพกายและจิตคนในครอบครัว
    • กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์แบบกลุ่ม
  4. ประเมินผล และสรุปภาพรวมโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครอบครัวในชุมชนมีความแข็งแรง และคนในครอบครัวมีสุขภาพจิตที่ดี
  2. ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกกัน และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  3. ชุมชนมีความตื่นตัวในการทำงานด้านการส่งเสริมความแข็งแรงของครอบครัวในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2564 00:00 น.