กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า หมู่ 3 บ้านโคกดีปลี ปี 64
รหัสโครงการ 64-L3065-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 ตำบลตุยง
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิริภัทร ไชยกิจ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.833523,101.213744place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
10.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป)ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
20.00
3 จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดื่มสุราหรือเหล้าเป็นปัญหาสำคัญที่แฝงอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมของพื้นที่มานานจนก่อให้เกิดค่านิยมการดื่มเหล้าในโอกาสต่างๆ เช่นปีใหม่ สงกรานต์ ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน งานบวชงานกฐิน หรือผ้าป่า รวมถึงงานศพ ล้วนแล้วแต่มีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะงานศพเป็นงานที่พบว่ามีปริมาณการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากในลำดับต้นๆ เนื่องจากงานศพเป็นงานที่เกิดขึ้นโดยที่เจ้าภาพไม่ได้ตั้งใจและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นที่จะต้องจัดการตามประเพณี ซึ่งเจ้าภาพจะต้องจัดหาอาหารพร้อมเครื่องดื่ม เหล้า เบียร์ มาเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน บางคนเก็บศพไว้นานต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากพองานเสร็จ บางครอบครัวต้องติดหนี้ ยิ่งถ้าผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัวด้วยแล้ว ผู้อยู่เบื้องหลังต้องลำบากเดือดร้อน นำไปสู่ความยากจนและปัญหาสังคม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในพื้นที่นิยมดื่มเหล้าในเทศกาลงานบุญต่างๆ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตประจำวันนั่นก็คือ การมีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆวางจำหน่ายอยู่โดยทั่วไปและหาซื้อได้ง่ายโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน สิ่งสำคัญที่ก่อปัญหาเช่นนี้คือสืบเนื่องมาจากประเพณี วัฒนธรรมและบริบทของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องปกติในชีวิต โดยไม่ได้คิดถึงพิษภัยของการดื่มเหล้าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสร้างปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเล่นการพนัน และนำพาไปสู่การเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมา เช่นอุบัติเหตุจราจร การลักขโมย การทะเลาะวิวาท และความยากจน ประชาชนม.3 บ้านโคกดีปลี ตำลบตุยง มีการดื่มเหล้ากันมาช้านานจากดื่มน้ำตาลเมา(ตะหวาก) มาเป็นเหล้า , เหล้าขาว ซึ่งในปัจจุบันเพิ่มยาดองมาอีก 1 อย่าง และเมื่อก่อนที่ดื่มจะเป็น ผู้ใหญ่วัยทำงานในปัจจุบันขยายวงกว้างมาถึงเด็กวัยรุ่น ทำให้เกิดผลเสียสุขภาพ ปัญหาสังคม จากปัญหาและผลเสียของการดื่มสุราดังกล่าว อสม.หมู่ 3 บ้านโคกดีเล็งเห็นความสำคัญ ร่วมกับ ผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนและประชาชน จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์ลด ละ เลิกเหล้าเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไปลด ละเลิกการดื่มสุราซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ซึ่งไม่เฉพาะร่างกายจิตใจของตนเองเท่านั้น แต่ยังทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมเกิดความเข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นกระตุ้น เตือนให้ประชาชน ตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำไปสู่สุขภาพดี และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ มีการตัดสินใจที่ดี รวมถึงการจัดการตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จากการทำโครงการในปี 2561 - 2563 ปรากฏว่ามีผู้งดเหล้าได้ในช่วงเข้าพรรษาจำนวน 2,7 และ 3 คน ลำดับ อสม.จึงได้เห็นความสำคัญที่จำโครงการนี้ต่อเพื่อชักชวนให้ประชาชน ม.3 ที่ดื่มเหล้ามาเข้าโครงการเพิ่มขึ้น ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

10.00 7.00
2 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00 17.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

5.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 4 15,000.00
1 - 31 มี.ค. 64 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 0 2,500.00 2,500.00
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของประชาชน 0 8,400.00 8,400.00
1 พ.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ ในพื้นที่ 0 3,900.00 3,900.00
1 - 30 ก.ย. 64 ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน 0 200.00 200.00
  1. จัดทำโครงการ
  2. จัดประชุมเครือข่ายสุขภาพ แกนนำครอบครัวในพื้นที่
  3. พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของประชาชน
  4. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ในพื้นที่
  5. ถอดบทเรียน สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กเยาวชนประชาชนลดละ เลิกการดื่มสุรา
    1. สถาบันครอบครัวสังคม มีความเข้มแข็ง
    2. ประชาชนมีสุขภาพร่างกาย และจิตใจที่แข็งแรงปลอดจากโรค
    3. อัตราการดื่มเหล้าของประชาชนในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 10:32 น.