กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,744.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหวันมูฮำมัดรุสดี เจะอาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 69 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การวัดความดันโลหิต เป็นการตรวจร่างกายที่สามารถให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้น ซึ่งทำได้ภายในเวลารวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ การวัดอาจทำโดยสอดแขนจนสุดต้นแขนเข้าไปในเครื่องอัตโนมัติ หรือใช้ผ้าพันรอบแขนแล้วสูบลมให้ผ้าพองขึ้นจนเกิดแรงบีบที่แขน จากนั้นจึงค่อย ๆ ปล่อยลมออกและรอดูค่าความดันที่จะปรากฏคงที่ในเวลาต่อมา ภาวะความดันโลหิตสูง มักไม่มีอาการบ่งบอก ผู้ป่วยอาจไม่เคยรู้ตัวจนกระทั่งได้รับการตรวจความดันโลหิตเบื้องต้นเมื่อเข้ารับการรักษาหรือตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลการตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงและรับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นสามารถทำได้ง่าย ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จากการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้าน มีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้องซึ่งประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้านคือ การวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาลแต่วัดที่บ้านพบว่าปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตำบลตะลุโบะในปี 256๓ พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 123 ราย และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.91 และในปี 2564 จากการคัดกรองพบกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 73 ราย กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วันและหาค่าเฉลี่ย (จำนวน 43 %ของกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2564 ต้องได้รับการทำ Home BP=32 คน )หากยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
  ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะได้เล็งเห็นความสำคัญของการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน จึงจัดทำโครงการตามติด ติดตาม รู้ทันความดันโลหิตสูงป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเข้าถึงบริการพบแพทย์และวินิจฉัยได้รวดเร็วและสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยและแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

๑.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมได้ทำแบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ๒.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนแบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส.

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้อย่างถูกต้อง

๑.ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกทักษะการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้อย่างถูกต้อง                                        ๒.ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรม ผ่านเกณฑ์การทดสอบรายบุคคลการฝึกทักษะการวัดความดันโลหิตที่บ้านและลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้อย่างถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 138 34,744.00 2 34,744.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมประเมินความรู้ 69 64.00 64.00
26 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 69 34,680.00 34,680.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ                        2. แต่งตั้งคณะทำงาน                            3. จัดเตรียมอุปกรณ์ แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ แบบบันทึกHMBP เพื่อใช้ในกิจกรรม      4. ประชาสัมพันธ์โดยแกนนำสุขภาพ ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เข้าไปรับการอบรม
  2. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย จัดทำแนวทางการวัดความดันโลหิตที่บ้าน และแบบบันทึก                                          6. จัดอบรมให้ความรู้                            ......6.1 เรื่องทำไมต้องตรวจความดันที่บ้าน และอันตรายของ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.2 ส.                      ......6.2 ฝึกทักษะวิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง และลงบันทึกในแบบ (HMBP ) Home Bp Monitoring  หาค่าเฉลี่ยความดันโลหิตในรอบ 7 วัน หากยังสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ส่งพบแพทย์
  3. ประสานความร่วมมือติดตามวัดความดันโลหิตติดต่อกัน 7 วัน โดยแกนนำสุขภาพ ติดตามอย่างใกล้ชิด กลุ่มเป้าหมาย 1 คน: แกนนำสุขภาพ 1 คน                        8.สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสม
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้ถูกต้อง
  3. ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์ได้รวดเร็ว
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถลงบันทึกตามแบบบันทึกHMBPได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 12:08 น.