กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะแลกบอล ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3011-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาอิสลามมัสยิดดารุลนาอิม (แบรอแว)
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยูโซะ วาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.853,101.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงาร)   ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาใหญ่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน และนับ วันจะทวีความรุนแรงตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัว ทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่จัดการ ขยะมูลฝอย แต่ก็ไม่สามารถรับมือปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นได้ กิจกรรมของศูนย์การศึกษาร่วมกับกลุ่มเยาวชน Football Academy ที่เป็นผลผลิตมาจากศูนย์แต่เดิมมาจัดการรณรงค์กิจกรรมขยะแลกบอล โดยใช้หลักการแรงจูงใจการฝึกฝนทักษะการเล่นบอลในสนามสาธิต(สนามหญ้าเทียม)มูลค่าของขยะรีไซเคิลร่วมกับงบสนับสนุนจากชุมชนและศูนย์ในการจัดกิจกรรม รายได้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมมาจากเงินที่ได้จากการขายขยะให้ร้านรับซื้อของเก่า ร่วมกับเงินสมทบจากศูนย์และชุมชน ซึ่งสามารถใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ร่วมทั้งให้เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  เช่นนั้นแล้วเด็กและเยาวชนนั้น คือ อนาคตของชาติ เพื่อก่อเกิดผลต่อการมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ แข็งแรงรวมทั้งสามารถนำประสบการณ์นี้เพื่อไปใช้และพัฒนาในชีวิตประจำวันได้ ด้วยเหตุนี้ทางคณะกรรมการศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด จึงได้จัดโครงการขยะแลกบอลซึ่งเป็นกิจกรรม ต่อเนื่องภายใต้กิจกรรมของศูนย์ ร่วมถึงการจัดการของเยาวชนหมู่บ้าน เพื่อการเสริมทักษะความรู้ด้านกีฬา เพื่อการสร้างสมาธิ สุขภาพ และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง และ สิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถทำให้เยาวชนมีแนวคิดเชิงบวกและกิจกรรมเชิงปฏิบัติได้อย่างสร้างสรรค์ไปพร้อมกับการสร้างสมาธิ ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ห่างไกลจากสิ่งอบายมุก และรู้จักการจัดกากมลภาวะในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับการยอมรับของชุมชน ตอบสนองนโยบายรัฐได้อีกด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนได้มีความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของขยะต่างๆ และสามารถนำมาจัดการได้ถูกต้อง

เด็กละเยาวชนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อใช้ขยะสร้างมูลค่าเพิ่ม ในพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านป้องกันร่างกาย อารมณ์ จิตใจให้กับเยาวชนในการดำเนินชีวิตเพื่อห่างไกลจากสิ่งอบายมุกได้

เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกมีความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของขยะที่มีผลต่อสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อม

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอยได้

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ของโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 25,700.00 1 25,700.00
26 เม.ย. 64 โครงการฝึกอบรม เก็บสองแลก หนึ่ง 60 25,700.00 -
26 ต.ค. 64 โครงการฝึกอบรม เก็บสองแลกหนึ่ง 0 0.00 25,700.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.ประสานเจ้าหน้าที่ เพื่อขับเคลื่อนปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
2.ขออนุมัติจัดทำโครงการ
3.ประสานวิทยากร สถานที่ กลุ่มเป้าหมาย
4.จัดเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์
5.จัดกิจกรรมโครงการตามที่กำหนด
  - บรรยายเรื่องมารู้จักใช้ขยะ ขยะดี /ขยะเลว   - บรรยายให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย(ฟุตบอล,กีฬาอื่นๆสำหรับเยาวชนหญิง)   - กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บ 2 แลก 1 ขยะช่วยเราบอลช่วยโลก โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้   กลุ่มที่ 1 การแปลงขยะให้เป็นเงิน   กลุ่มที่ 2 การเล่นบอลเพื่อสุขภาพห่างไกลจากยาเสพติด 6. ติดตามและประเมินผล โดยสังเกตจากการทำกิจกรรม 7. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 80 เยาวชนได้มีความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของขยะต่างๆและสามารถจัดการได้ถูกต้อง
  2. สามารถใช้ขยะเพื่อสร้างมูลค่าต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางร่างกาย อารมณ์ ความคิด จิตใจให้กับ เยาวชนในสภาวะปัจจุบันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2564 12:24 น.