กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคหัวใจในเด็ก ของเทศบาลนครหาดใหญ่
รหัสโครงการ 60-L7258-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2560
งบประมาณ 20,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอมรรัตน์ ลิ่มเฮง หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.หาดใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หัวใจพิการแต่กำเนิดเป็นสาเหตุของโรคหัวใจในเด็กกว่าร้อยละ 90 มีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 1 ของเด็กเกิดใหม่มีชีวิตเหมือนกันทั่วโลก ในปีหนึ่งๆจะมีทารกเกิดใหม่ในประเทศไทย 8 แสนคน จะมีทารกเกิดใหม่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8,000 คน ประมาณครึ่งหนึ่งคือ 4,000 คน มีความพิการไม่มากไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา บางรายอาจหายเองได้ เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่วขนาดเล็ก แต่อีกครึ่งหนึ่งมีอาการ เช่น เลี้ยงไม่โต เขียว เหนื่อยเร็ว ถ้าความพิการรุนแรงอาจมีอาการตั้งแต่แรกเกิด ถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและส่งต่อให้รวดเร็วอาจเสียชีวิต หรือการเจริญเติบโตช้า ขาดโอกาสในการได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เด็กเล็กก่อนอายุ 1 ปี ที่มารับการฉีดวัคซีนที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ถ้าได้รับการตรวจหัวใจทุกครั้งจะช่วยวินิจฉัยโรคหัวใจได้รวดเร็ว โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลายชนิดเพิ่งมาตรวจพบภายหลังอายุ 1 เดือน เด็กอนุบาลก่อนวัยเรียน สมควรได้รับการตรวจหัวใจเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะหัวใจพิการแต่กำเนิดเพิ่งตรวจพบภายหลัง เช่น atrial septal defect เป็นต้น (คู่มือการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการคัดกรองโรคหัวใจในเด็ก
ศ.เกียรติคุณ นพ.บุญชอบ พงษ์พาณิชย์ : 2552) เด็กระดับประถมศึกษา ควรได้รับการตรวจร่างกายประจำปีหรืออย่างน้อยตรวจในชั้นประถมปีที่หนึ่ง ทั้งนี้เพราะโรคหัวใจบางชนิดอาจจะไม่มีอาการเด่นชัด หรือเด็กไม่ได้สังเกตตัวเองว่าเหนื่อยเร็วกว่าเพื่อน จากการตรวจคัดกรองที่ศึกษามาก่อนในหลายจังหวัดพบว่าเด็กชั้นประถม 1-6 มีโรคหัวใจ1.2 คนต่อนักเรียน 1,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 1.1 : 1,000 เป็นโรคหัวใจรูมาติก ร้อยละ 30 -40 ไม่ทราบมาก่อนและในจำนวนนี้ร้อยละ 60 – 70 ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด อีกร้อยละ 60 – 70 ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน และเคยได้รับการตรวจมาแล้ว แต่ไม่สามารถไปรับการรักษาหรือผ่าตัดได้เนื่องจากต้องรอคิวผ่าตัดนาน และมีการเลื่อนการผ่าตัดหลายครั้ง จึงขาดการติดต่อบางรายความรุนแรงของโรคมากขึ้นถ้ารอไปนานๆ อาจผ่าตัดไม่ได้ คุณภาพชีวิตไม่ดีและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ : 2552) เด็ก 0-5 ปีต้องได้รับการฉีดวัคซีนที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และยังมีอนามัยโรงเรียนซึ่งไปตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนอยู่แล้ว การเพิ่มขีดความสามารถของพยาบาลวิชาชีพและให้ตรวจระบบหัวใจและหลอดเลือดเบื้องต้นได้ จะช่วยให้ทารกและเด็กได้รับการวินิจฉัยโรคหัวใจได้รวดเร็วและสามารถส่งต่อไปยังโรงพยาบาลและศูนย์หัวใจในพื้นที่ได้รวดเร็วและทันการ เพราะปัจจุบันมีศูนย์หัวใจของกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยกระจายอยู่ตามเขตต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดภาวะแทรกซ้อนและลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรหรือสายเกินไปที่จะให้การรักษา เนื่องจากปัจจุบันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดทุกชนิดสามารถทำการผ่าตัดรักษาได้ผลดี ประเทศไทยมีศักยภาพในการรักษาพยาบาลมากขึ้น อีกประการหนึ่งเด็กที่เป็นโรคไข้รูมาติกหรือหัวใจรูมาติกถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้รวดเร็ว โอกาสที่จะมีลิ้นหัวใจพิการจะลดลง เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดลิ้นหัวใจเมื่อเป็นผู้ใหญ่จึงควรจัดให้มีการสำรวจฟังเสียงหัวใจในเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข และตรวจฟังเสียงหัวใจเด็กระดับประถมศึกษาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะของพยาบาลในการคัดกรองโรคหัวใจในเด็ก

พยาบาลร้อยละ 80 มีทักษะในการคัดกรองหัวใจเด็ก

2 เพื่อคัดกรองโรคหัวใจในเด็กในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

ร้อยละ 70 ของเด็กในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้รับการตรวจคัดกรองหัวใจ

3 เด็กที่มีภาวะผิดปกติสามารถตรวจพบและส่งต่อเพื่อการรักษาได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของเด็กที่มีภาวะผิดปกติ สามารถรักษาต่อได้อย่างถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงการคัดกรองโรคหัวใจในเด็กแก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลและหน่วยบริการปฐมภูมิที่ร่วมให้บริการกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. ตรวจคัดกรองเด็กเมื่อเริ่มเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1
  3. ประชุมรวบรวมผลการดำเนินงาน
  4. ประชุมสรุปโครงการและประเมินผลการดำเนินงาน
  5. จัดทำรูปเล่มรายงานสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถคัดกรองโรคหัวใจในเด็ก 0-5 ปีและเด็กวัยเรียน ป.1 – ป.6 ได้ 100%

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 10:23 น.