กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมแกนนำชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 64-L-1505-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 19,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเตือนใจ ชูพูล ผอ.รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.474,99.648place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหนะนําโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมี สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจํานวนน้อย พาหนะนําโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สําคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูก สุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทําให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อ โรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทําได้ ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจําวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พัก อาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจําอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดําเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผล จะต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน สําหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563 ในเขตพื้นที่อําเภอย่านตาขาว พบว่า มีอัตราป่วยเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดตรัง อัตราป่วยเท่ากับ 88.35 ต่อแสน ประชากร โดยจะพบในกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี มากที่สุด ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทําให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไข ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค ใข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านควนเคี่ยม จึงได้จัดทําโครงการอบรมแกนนําชุมชนป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจําปีงบประมาณ 2564 ขึ้น และการดําเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ต้องมีการ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสําคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้อง ช่วยกัน กระตุ้นและชักนําให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสําคัญที่ต้องเร่งรัดดําเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 ไม่พบอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์

0.00
3 พื่อสร้างความตระหนักและความร่วมมือของชุมชนในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

จํานวนบ้านที่พบลูกน้ํายุงลายไม่เกินร้อยละ 10 (ค่า HI ไม่กิน 10) ไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ํายุงลายในวัด โรงเรียน และศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก (ค่า CI = 0)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 19,950.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ประชาขนและรณรงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 120 19,950.00 -
  1. นําเสนอ/ทบทวนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและจัดทําโครงการแก้ไขปัญหา
  2. เสนอคณะกรรมการกองทุน ขออนุมัติโครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนําชุมชน หมู่บ้านละ 20 คน จํานวน 6 หมู่บ้าน รวม 120 คน
  4. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นําชุมชน, อสม., ประชาชนในทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อ ทําความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดําเนินงาน
  5. ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนและผู้นําชุมชนทราบ
  6. รณรงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยขอสนับสนุนรถประชาสัมพันธ์จากอบต.ทุ่งค่าย
  7. สรุปผลการดําเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีความร่วมมือของขมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
  3. ไม่มีอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2564 13:23 น.