กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามเฝ้าระวังเชิงรุกในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตผิดปกติ ปี2564 รพ.สต.บ้านท่าไทร
รหัสโครงการ 64-L5214-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าไทร
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 6,705.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางน้อมฤทัย ยังรอด
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.163,100.542place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 128 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นโรคที่สำคัญมากโดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิตได้ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2542 ว่าผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140/90 มม.ปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรทั่วโลก ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงถึง 7.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 ความชุกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยในระหว่างปี 2560-2562 เท่ากับ1,363,616 ราย 1,468,433 ราย และ 1,566,762 รายตามลำดับ และเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงระหว่างปี 2560-2562 เท่ากับ 8,525 รายและ9,313 ราย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น (กรมควบคุมโรคสำนักโรคไม่มีติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข) สำหรับจังหวัดสงขลา พบจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระหว่างปี 2560-2562 จำนวน 25,791ราย 30,830 รายและ32,530 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้นจาก 1,826.41 เพิ่มเป็น2,172.98 และ 2,284.19 ตามลำดับ (กรมควบคุมโรคสำนักไม่ติดต่อกระทรวงสาธารณสุข) ในส่วนของอำเภอเมืองสงขลา อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2560-2562 มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 871.34,839.80และ925.84 ในชณะที่ตำบลเกาะยอมีอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลระดับประเทศ จังหวัดสงขลาและอำเภอเมืองสงขลา ซึ่งตำบลเกาะยอพบข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระหว่างปี 2560-2562 มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 949.24,055.46และ998.37 ตามลำดับและพบว่ามีผู้ป่วยที่สามารถควบคุมโรคความดันโลหิตได้ดีของตำบลเกาะยอ ระหว่างปี 2560-2562 คือร้อยละ40.06,35.16 และ30.70 ตามลำดับ (Health data center กระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งมีแนวโน้มลดลงโรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง (เช่นปลาร้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่มเกลือแร่เป็นต้น) การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางกายไม่พอเพียง การมีภาวะอ้วน การมีภาวะเครียดสะสม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับอายุที่มากขึ้น รวมถึงการมีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยนี้ล้วนส่งผลให้มีโอกาสต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น(กรมควบคุมโรคสำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข) วิธีการที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนได้คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรค และพฤติกรรมการดูแลตนเองขณะเจ็บป่วย ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากความรู้สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ ผู้ที่มีความรู้และเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะสามารถปฏิบัติในเรื่องนั้นๆได้ดี การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการหายของโรคตามแนวคิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting Behavior) โดยเชื่อว่าบุคคลทุกคนมีเป้าหมายสุขภาพที่ดีโดยจะแสดงพฤติกรรมจากการตระหนักรู้และการประเมินความสามารถของตนเอง เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างตนเอง บริบท และสิ่งแวดล้อม โดยการหาวิธีการที่เหมาะสมเกิดประโยชน์ และลดวิธีการที่เป็นอุปสรรคต่การปฏิบัติพฤตกรรมสุขภาพออกมาภายใต้การตัดสินใจและการรับรู้ศักยภาพของตนเอง ทั้งนี้บุคคลในครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางสุขภาพเป็นปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มหรือลดพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้น คงไว้ซึ่งความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายอย่างสมบรูณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1.ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (Health Responsibility) 2.กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) 3.การปฏิบัติด้านโภชนาการ (์Nutrition) 4. การเจริญทางจิตวิญญาณ (Spirituai Growth) 5.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล(Interpersonal Relation) และ 6.การจัดการความเครียด(Stress Management) (Pender,Murdauaugh &Parsons,2011) จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ของตำบลเกาะยอ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนจัดกิจกรรมการพยาบาลให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมทีมงานเพื่อรวบรวมปัญหาและวางแผนเพื่อการวิจัย 2.ปรึกษารูปแบบวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ 3.ออกแบบกลวิธีดำเนินการวิจัย 4.เก็บแบบสอบถาม 5.รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล 6.สรุปผลการวิจัยและวางแผนแก้ไขปัญหาการดำเนินงานต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนจัดกิจกรรมการพยาบาลให้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน 3.อัตราตายด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 09:11 น.