กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้นกล้า 4.0 ห่างไกลสิ่งเสพติด รร.บ้านทุ่งค่าย
รหัสโครงการ 64-L-1505-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รร.บ้านทุ่งค่าย
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 สิงหาคม 2564 - 21 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 30,915.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางธิดา วนาสุวรรณวณิช ผอ.รร.บ้านทุ่งค่าย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.474,99.648place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 177 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาสิ่งเสพติดเป็นปัญหาสําคัญซึ่งมีผลกระทบและเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ รัฐบาลได้ กําหนดให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ และกําหนดยุทธศาสตร์หลังแผ่นดินเอาชนะสิ่งเสพติดเพื่อให้ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ยึดเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานสิ่งเสพติด เด็กและเยาวชน เป็นเป้าหมายของกระบวนการสิ่งเสพติด เนื่องจากเป็นวัยที่เอื้อต่อ การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ทั้งปัจจัยจากตนเอง คือ เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ ต้องการค้นหา สร้างตัวตน สร้างการยอมรับ มีแรงผลักดันทางอารมณ์สูง กล้าเสี่ยง กล้าทําสิ่งท้าทาย นอกจากนี้ นักค้าสิ่งเสพติดมักมองว่าเยาวชนที่เข้า ไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดเริ่มมีอายุน้อยลง การแก้ปัญหาแพร่ระบาดของสิ่งเสพติด จะต้องดําเนินการสอนหรือฝึกให้เด็กมีภูมิคุ้มกันทางด้าน จิตใจและสามารถเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โรงเรียนบ้านทุ่งค่ายได้เล็งเห็นถึงความสําคัญดังกล่าวจึงได้จัดโครงการต้นกล้า 4.0 ห่างไกลสิ่งเสพติด ในการส่งเสริมวิธีป้องกันสิ่งเสพติดในเด็กและเยาวชน เพื่อจะได้สามารถร่วมมือป้องกันเด็กและเยาวชน จากปัญหา สิ่งเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสิ่งเสพติด ให้นักเรียนได้รับความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ร้อยละ 100 ของนักเรียน มีภูมิคุ้มกันกับสิ่งเสพติด ให้นักเรียนได้รับความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

100.00
2 เพื่อควบคุมการขยายตัวของปัญหายาเสพติด และลดการแพร่ระบาดสิ่งเสพติดในสถานศึกษา

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ไม่มีปัญหาสิ่งเสพติดในสถานศึกษา

100.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยสิ่งเสพติดที่มีต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยสิ่งเสพติดที่มีต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ

100.00
4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้นักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความเข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 177 30,915.00 0 0.00
20 - 21 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้สิ่งเสพติด 177 30,915.00 -
  1. ขั้นวางแผน 1.1 เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ
    1.2 ประชุมมอบหมายภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานตามโครงการ
  2. ขั้นดําเนินการ 2.1 ติดต่อประสานงานกับวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2.2 จัดอบรมให้ความรู้ตามโครงการต้นกล้า 4.0 ห่างไกลยาเสพติด   - ครั้งที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 จํานวน 93 คน   - ครั้งที่ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จํานวน 84 คน
    2.3 ประเมินผล และจัดทํารายงานผลการดําเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งค่ายระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จํานวน 177 คน มีภูมิคุ้มกันสิ่งเสพติด และได้รับรู้รับทราบถึง ปัญหาและพิษภัยของสิ่งเสพติด
  2. ลดการขยายตัวของปัญหาสิ่งเสพติด และลดการแพร่ระบาดสิ่งเสพติดในสถานศึกษา
  3. นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งค่ายระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จํานวน 177 คน มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงพิษภัยสิ่ง เสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาสังคมตลอดจนความมั่นคงของชาติ
  4. สถานศึกษามีความเข้มแข็งสามารถป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2564 09:32 น.