กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรอง ป้องกัน รู้ทัน โรค NCD ศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข
รหัสโครงการ 64-L7250-2-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ชุมชนบ่อหว้า
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 43,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววัลยา แซ่เอี้ยว ตำแหน่ง อสม. ชุมชนบ่อหว้า
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจจะทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย โรคเรื้อรังมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการและอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทำได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โรคเรื้อรังส่งผลกระทบทางการเงิน เพราะกระบวนการรักษาบางขั้นตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จนอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับบางคนได้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต การส่งเสริมด้านพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้ ส่งเสริมการออกกำลังกาย เน้นการเคลื่อนไหวการใช้แรงกายซึ่งตัวประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย สามารถปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพที่กล่าวมา รวมทั้งมีการเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยการคัดกรองความเสี่ยง มีการสร้างความตระหนักของมหันตภัยร้ายของโรคพร้อมกับมาตรวจสุขภาพ การตรวจรักษาโรคในกลุ่มป่วยอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงการเกิดโรครายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนและค่าใช้จ่ายของครอบครัว จากการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทั้ง 7 ชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ตรวจวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว ปี 2563 พบว่า กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 3,387 คน รับยา จำนวน 342 คน คิดเป็นร้อยละ 10.09 และได้มีกลุ่มเสี่ยงสูง จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2 กลุ่มเสี่ยงสูงมาก จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 1.4 ได้มีการจัดกลุ่มเรียนรู้ 3 อ. 2 ส. ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงโดย อสม. กลุ่มเสี่ยงสูงมากส่งต่อพบพยาบาลศูนย์สุขภาพชุมชนพาณิชย์สร้างสุข และติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดยกลุ่มเสี่ยงเองหรือผู้ดูแลที่บ้าน (Home Bp) วัดที่บ้านวันละ 5 ครั้ง 7 วัน ก่อนที่จะส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรครายใหม่ ในการนี้ ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ทั้ง 7 ชุมชน เห็นความสำคัญที่จะคัดกรองสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่ จึงเห็นควรให้ชุมชนพาณิชย์สำโรงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการบริหารจัดการโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

๑. ประชาชน 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพร้อยละ 90

90.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังรายใหม่

๒. กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดประชุมสมาชิกแกนนำทั้ง ๗ ชุมชนเพื่อวางแผนปฏิบัติและกำหนดดำเนินโครงการ ๒. ประชาสัมพันธ์/คัดกรองสุขภาพตามกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ๓. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง (focus group) 3 ครั้ง (เดือนที่ 1,3,และ6) ๔. การติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ป้องกันการเกิดโรครายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2564 10:49 น.