กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสานพลังครอบครัวสู่ชุมชนปลอดบุหรี่ ประจำปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักตำบลกะมิยอ
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ อาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะมิยอ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.854,101.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทางประชากรโลกองค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 4 ล้านคน สาเหตุการตายของโรคมะเร็งปอดโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และเส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบมาจากบุหรี่ ในประเทศไทยบุหรี่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยปีละ 42,000 คน เฉลี่ยวันละ 115 คน (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่,2544) นอกจากทำลายสุขภาพแล้วยังทำให้สูญเสียรายได้ ผลร้ายจากควันบุหรี่ทำให้เกิดโรคต่างๆ กว่า 100 โรค เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากกว่า 50,000 คนต่อปี และผู้ติดบุหรี่มีโอกาสสูงที่จะหันไปบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติดอื่นๆ ประเทศไทยมีความพยายามในการดำเนินการควบคุมยาสูบด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่เชื่อว่ามีประสิทธิภาพ ได้แก่ มาตรการทางภาษีและราคา เพื่อเน้นป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ การช่วยเลิกบุหรี่ และที่สำคัญคือ การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ผลการควบคุมดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี 2534-2549 อัตราการสูบบุหรี่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และแม้หลังจากนั้นจะยังมีแนวโน้มลดลง แต่เป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เกือบคงที่ในช่วงปี 2549-2552 และกลับมาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงปี 2552-2554 ซึ่งสถานการณ์การสูบบุหรี่ที่มีแนวโน้มคงที่และขยับสูงขึ้น สถานการณ์การสูบบุหรี่ที่เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่แย่ลงมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น มาตรการทางภาษีที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาบุหรี่ที่สูงขึ้น และเชื่อว่าจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ลดลง กลับพบว่า แรงต้านที่เกิดจากอุตสาหกรรมยาสูบ จึงผลิตบุหรี่ราคาถูกออกขาย เป็นผลให้ผู้สูบบุหรี่ที่ยังไม่ต้องการเลิก เปลี่ยนยี่ห้อจากบุหรี่ราคาแพงมาสูบบุหรี่ราคาถูกมีการเปลี่ยนประเภทจากบุหรี่โรงงานมาเป็นบุหรี่มวนเอง (ยาเส้น) เนื่องจากมีราคาถูกและหาได้ง่าย มากกว่า 30 จังหวัดของประเทศไทยยังคงมีการปลูกยาสูบ ทั้งเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและนำมาสูบ และทำเป็นสินค้าอุตสาหกรรมในครัวเรือน การขาดความตระหนักของผู้บริโภคยาสูบถึงอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของตนเองและคนใกล้ชิดสำหรับในปีพ.ศ. 2544 ยังพบอีกว่า 5 จังหวัดลำดับแรกที่มีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันสูงสุดของประชากรรวมส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือและภาคอีสานได้แก่หนองบัวลาภูตากแม่ฮ่องสอนหนองคายและกำแพงเพชรขณะที่ในปีพ.ศ. 2550 พบว่ามีเพียง 1 จังหวัดในภาคเหนือได้แก่จังหวัดตากซึ่งมีอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันของประชากรรวมสูงเป็นอันดับ 1 หากแต่จังหวัดที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงเป็นอันดับที่ 2 และ 3 กลับเป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ได้แก่ปัตตานีและสตูลจากข้อมูลดังกล่าว พบว่าจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่น่าเป็นห่วงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบอัตราการสูบระหว่างปี 2544-2550 พบมีแนวโน้มสูงขึ้น มีอัตราการสูบบุหรี่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ โดยอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 32.26 (ส่วนใหญ่พบในเพศชาย) พบปริมาณการสูบบุหรี่เฉลี่ย 11.04 มวนต่อวันต่อคน อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ คือ 17.9ปี และพบกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่น จากการถอดบทเรียนงานวิจัย เรื่อง การขับเคลื่อนสู่จังหวัดปลอดบุหรี่ของจังหวัดปัตตานี พบว่า อัตราการสูบบุหรี่สูงสุดอยู่ในกลุ่มผู้นำ รองลงมา ประชาชน คิดเป็นร้อยละ 40.8 และ36.6 ตามลำดับ การรับรู้สถานที่ปลอดบุหรี่ต่ำในสถานที่ที่เป็นตลาด ที่สาธารณะ ร้านค้า(อภิรดี แซ่ลิ่ม และคณะ,2556) นอกจากข้อมูลดังกล่าวที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมประชากรชาวกะมิยอ ได้ใช้พื้นที่สาธารณะ พบว่า ทุกครั้งหลังจากประกอบศาสนากิจที่มัสยิด มีผู้สูบบุหรี่จากการสำรวจของเยาวชน โดยสำรวจใน 50 ครัวเรือน พบว่า มีผู้ชายที่เป็นหัวหน้าครอบครัวสูบบุหรี่ ร้อยละ 60.0 โดยร้อยละ 70.0 ได้สูบบุหรี่ก้นกรอง รองลงมา สูบบุหรี่มวนเอง ร้อยละ 30 สำหรับมารยาทที่เป็นปัญหาของผู้สูบบุหรี่ พบมากที่สุด คือ วัยผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ภายในบ้าน ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างและเด็กเล็ก ทิ้งก้นบุหรี่ตามท้องถนน ตามลำดับ และจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้นำศาสนาเกี่ยวกับข้อห้ามหรือข้อยืดหยุ่นในการสูบบุหรี่ ได้กล่าวว่าการสูบบุหรี่เป็นข้อห้ามในหลักการของอิสลาม แต่เนื่องด้วยความเป็นอยู่และขนบธรรมเนียมการดำรงชีวิตในชุมชนกะมิยอ มักมีพฤติกรรมความเคยชินมักยื่นซองบุหรี่ให้แก่กันไม่ว่าจะพบปะกันตามบ้านเรือน ร้านน้ำชาร้าค้า หรือแม้กระทั่งมัสยิด
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ประชาชนชุมชนบ้านกะมิยอ ยังมีโอกาสได้ควันบุหรี่ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากบุหรี่ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจให้กับผู้มาใช้สถานที่ที่เป็นเขตห้ามสูบบุหรี่ การให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และมารยาทการสูบบุหรี่ การเชิญชวนให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ของชุมชนบ้านกะมิยอลดลง และเกิดพื้นที่ปลอดควันบุหรี่มากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ใช้พื้นที่สาธารณะ ตระหนักถึง พิษภัย ผลกระทบของบุหรี่ และโทษของบุหรี่เพิ่มจากเดิม ร้อยละ 80

 

2 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีมารยาทในการสูบุหรี่ โดยห้ามสูบบุหรี่ภายในบ้าน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. อบรมให้ความรู้พิษภัยการสูบบุหรี่และมารยาทต่างๆในการสูบุหรี่ ๒. รณรงค์สร้างความตระหนักห้ามสูบบุหรี่ภายในบ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความตระหนักถึงพิษภัย ผลกระทบของบุหรี่ และโทษของบุหรี่เพิ่มขึ้น ๒. ประชาชนมีมารยาทในการสูบุหรี่ โดยไม่สูบบุหรี่ภายในบ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2560 14:51 น.