กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบ่อเจ็ดลูก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบ่อเจ็ดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบ่อเจ็ดลูก

หมู่ที่ 1 บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ภาระกิจการดำเนินงานด้านสาธารณสุข สามารถแบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 5 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค และโรคติดต่อที่เกิดใหม่ เช่น โรคโควิด-19 เป็นต้น การดำเนินงานเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในเชิงรุก โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน( อสม.) เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520เป็นต้นมา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตรับผิดชอบโดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ตลอดจนเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น เช่นสมาร์ทโฟน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการทำงานเชิงรุกในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้
การมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนางานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงมีความจำเป็นในการทำงานในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริอมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจ็ดลูก จึงได้เสนอโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อทบทวน พัฒนาองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีองค์ความรู้ในการดำเนินงานดูแลสุขภาพของประชาชน
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 100 มีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพประชาชน
0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาะารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 100 สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 38 คน ระยะเวลา 3 วัน


1. ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 38 คน x3 มื้อ =9,120 บาท


2. ค่าอาหารว่าง 25 บx 38 คน x 6 มื้อ= 5,700 บาท


3. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บx 3ชั่วโมง = 1,800 บาท

4.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บx 15ชั่วโมง = 4,500 บาท


รวมทั้งสิ้น 21,120 บาท


กำหนดการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจ็ดลูก ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

วันที่ ๑

เวลา กิจกรรม

๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน

๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ความรู้เบื้องต้นด้านเทคโนโลยี

วิทยากรจาก รพ.สต.ห้วยไทร

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. ความรู้เบื้องต้นด้านเทคโนโลยี

วิทยากรจาก รพ.สต.ห้วยไทร


วันที่ ๒

เวลา กิจกรรม

๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. การพัฒนาโครงการผ่านเวปไซด์ สปสช.เขต12

วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด


วันที่ ๓

เวลา กิจกรรม

๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น First Aid

วิทยากรจากโรงพยาบาลละงู

๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR

วิทยากรจากโรงพยาบาลละงู

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. SMARTอสม.

วิทยากรจาก รพ.สต.วังประจันทร์

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. อสม.ออนไลน์

วิทยากรจาก รพ.สต.วังประจันทร์

๑๖.๓๐ น. ปิดการอบรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21120.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,120.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ทำงานด้านสาธารณสุขได้ อย่างมีคุณภาพ


>