กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบ่อเจ็ดลูก
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากนํ้า
กลุ่มคน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบ่อเจ็ดลูก
3.
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ภาระกิจการดำเนินงานด้านสาธารณสุข สามารถแบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 5 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค และโรคติดต่อที่เกิดใหม่ เช่น โรคโควิด-19 เป็นต้น การดำเนินงานเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขในเชิงรุก โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน( อสม.) เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยผ่านกระบวนการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการปฏิบัติงานด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520เป็นต้นมา เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตรับผิดชอบโดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ตลอดจนเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างเหมาะสมด้วยตัวชุมชนเอง ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มีการใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น เช่นสมาร์ทโฟน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการทำงานเชิงรุกในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องอยู่ในขณะนี้
การมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนางานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจึงมีความจำเป็นในการทำงานในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริอมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจ็ดลูก จึงได้เสนอโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อทบทวน พัฒนาองค์ความรู้ด้านสาธารณสุข และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีองค์ความรู้ในการดำเนินงานดูแลสุขภาพของประชาชน
    ตัวชี้วัด : 1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 100 มีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพประชาชน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาะารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้
    ตัวชี้วัด : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 100 สามารถใช้เทคโนโลยีในการทำงานได้
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    รายละเอียด

    อบรมพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 38 คน ระยะเวลา 3 วัน


    1. ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 38 คน x3 มื้อ =9,120 บาท


    2. ค่าอาหารว่าง 25 บx 38 คน x 6 มื้อ= 5,700 บาท


    3. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บx 3ชั่วโมง = 1,800 บาท

    4.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บx 15ชั่วโมง = 4,500 บาท


    รวมทั้งสิ้น 21,120 บาท


    กำหนดการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อเจ็ดลูก ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

    วันที่ ๑

    เวลา กิจกรรม

    ๐๘.๐๐ – ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน

    ๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

    วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

    ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

    วิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

    ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

    ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ความรู้เบื้องต้นด้านเทคโนโลยี

    วิทยากรจาก รพ.สต.ห้วยไทร

    ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. ความรู้เบื้องต้นด้านเทคโนโลยี

    วิทยากรจาก รพ.สต.ห้วยไทร


    วันที่ ๒

    เวลา กิจกรรม

    ๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

    วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

    ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

    วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

    ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

    ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การจัดทำสื่อด้วยสมาร์ทโฟน

    วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด

    ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. การพัฒนาโครงการผ่านเวปไซด์ สปสช.เขต12

    วิทยากรจาก รพ.สต.น้ำผุด


    วันที่ ๓

    เวลา กิจกรรม

    ๐๘.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น First Aid

    วิทยากรจากโรงพยาบาลละงู

    ๑๐.๓๐ – ๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๐.๕๔ – ๑๒.๐๐ น. การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR

    วิทยากรจากโรงพยาบาลละงู

    ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

    ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. SMARTอสม.

    วิทยากรจาก รพ.สต.วังประจันทร์

    ๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕ น. รับประทานอาหารว่าง

    ๑๔.๕๔ – ๑๖.๓๐ น. อสม.ออนไลน์

    วิทยากรจาก รพ.สต.วังประจันทร์

    ๑๖.๓๐ น. ปิดการอบรม

    งบประมาณ 21,120.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1 บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 21,120.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข และสามารถใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ทำงานด้านสาธารณสุขได้ อย่างมีคุณภาพ

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ รหัส กปท. L5312

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 21,120.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................