กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใช้ยาอย่างเข้าใจและปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกยา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการป่วยตายโรค NCDs มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ.2562 โดยอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่มช่วงอายุวัยทำงาน คือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ สำหรับอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงก็เช่นเดียวกับอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่ม ช่วงอายุวัยทำงานคือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตรา ที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุเช่นกัน ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ค่านิยมการกินแบบตะวันตก การบริโภคอาหารที่เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ตลอดจนการมีพฤติกรรมและมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและเสี่ยง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตายและพิการ เป็นภาระต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติในการดูแลรักษา มีการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
ในพื้นที่เขตรับผิดชองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน256 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน121 คน(จากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center))สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3 ปี มีดังนี้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี 2561 จำนวน1 รายปี 2562 จำนวน5 รายปี 2563 จำนวน10 รายและผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ปี 2561 จำนวน3 รายปี 2562 จำนวน2 รายปี 2563 จำนวน7 รายจากสถิติจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองจึงเป็น

สิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อคงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุกของตนเองที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานคือ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ดลและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองในเรื่อง 3อ. 2 ส. การรับประทานยาและการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการใช้ยาอย่างเข้าใจและปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยาโรคเรื้อรัง ไม่เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามรถเผชิญกับโรคได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยาโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังไม่พบอาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดี

0.00

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการป่วยตายโรค NCDs มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ.2562 โดยอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่มช่วงอายุวัยทำงาน คือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ สำหรับอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงก็เช่นเดียวกับอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่ม ช่วงอายุวัยทำงานคือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตรา ที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุเช่นกัน ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ค่านิยมการกินแบบตะวันตก การบริโภคอาหารที่เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ตลอดจนการมีพฤติกรรมและมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและเสี่ยง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตายและพิการ เป็นภาระต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติในการดูแลรักษา มีการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม
ในพื้นที่เขตรับผิดชองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน256 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน121 คน(จากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center))สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3 ปี มีดังนี้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี 2561 จำนวน1 รายปี 2562 จำนวน5 รายปี 2563 จำนวน10 รายและผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ปี 2561 จำนวน3 รายปี 2562 จำนวน2 รายปี 2563 จำนวน7 รายจากสถิติจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อคงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุกของตนเองที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานคือ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ดลและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองในเรื่อง 3อ. 2 ส. การรับประทานยาและการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการใช้ยาอย่างเข้าใจและปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยาโรคเรื้อรัง ไม่เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามรถเผชิญกับโรคได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเรื้อรัง อาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเภสัชกร

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเรื้อรัง อาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเภสัชกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาที่รพ.สต. จำนวน 65 คน
              1.1 อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรเรื้อรัง อาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเภสัชกรจำนวน 1 วัน           1.2. ให้ผู้ป่วยสาธิตย้อนกลับตัดแบ่งเม็ด   ยา การจัดยาแต่ละมื้อ และบอกวิธีการกินยาที่ตนเองปฏิบัติอยู่           1.3. สรุปวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้ยา -   ค่าอาหารกลางวัน 65 คน x 50 บาท = 3,250 บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  65 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 3,250 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร  6 ชั่วโมง x 300 บาท =   1,800 บาท
    • ค่าซื้ออุปกรณ์ที่ตัดแบ่งเม็ดยา 3,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้           2. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้
2. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย


>