กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใช้ยาอย่างเข้าใจและปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านโคกยา
รหัสโครงการ 2564-L3310-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการป่วยตายโรค NCDs มีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ.2562 โดยอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่มช่วงอายุวัยทำงาน คือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ สำหรับอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงก็เช่นเดียวกับอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน พบว่ากลุ่ม ช่วงอายุวัยทำงานคือ กลุ่มอายุ 15 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 – 59 ปี มีอัตรา ที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุเช่นกัน ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรม วิถีชีวิต ค่านิยมการกินแบบตะวันตก การบริโภคอาหารที่เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ตลอดจนการมีพฤติกรรมและมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องและเสี่ยง ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตายและพิการ เป็นภาระต่อครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติในการดูแลรักษา มีการสูญเสียค่าใช้จ่ายและเศรษฐกิจมหาศาล ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม ในพื้นที่เขตรับผิดชองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน256 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน121 คน(จากฐานข้อมูล HDC (Health Data Service Center))สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3 ปี มีดังนี้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี 2561 จำนวน1 รายปี 2562 จำนวน5 รายปี 2563 จำนวน10 รายและผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ปี 2561 จำนวน3 รายปี 2562 จำนวน2 รายปี 2563 จำนวน7 รายจากสถิติจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองจึงเป็น

สิ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อคงไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ และความผาสุกของตนเองที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานคือ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ดลและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีศักยภาพในการดูแลตนเองในเรื่อง 3อ. 2 ส. การรับประทานยาและการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คงไว้ซึ่งสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการใช้ยาอย่างเข้าใจและปลอดภัยในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยาโรคเรื้อรัง ไม่เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโรคเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราตาย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามรถเผชิญกับโรคได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ยาโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อไม่ให้เกิดอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโรคเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังไม่พบอาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา

0.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
??/??/???? 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเรื้อรัง อาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเภสัชกร 0 12,000.00 -
  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาโรคเรื้อรัง อาการข้างเคียง และภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาโดยเภสัชกร จำนวน 1 วัน     2. ให้ผู้ป่วยสาธิตย้อนกลับและบอกวิธีการกินยาที่ตนเองปฏิบัติอยู่     3. สรุปวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้ยา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังได้เข้าร่วมอบรมให้ความรู้
  2. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 10:06 น.