กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

14.77

พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนคนไทยในปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อย การดื่มสุราและสูบบุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ภาวะเครียดจากการทำงาน การกินอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน และอาหารไม่มีประโยชน์ ทำให้มีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิต หรือเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตและพิการสูงมาก ต้องเป็นภาระของครอบครัวและสังคมในการดูแลรักษา รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของปัญหาเหล่านี้ จึงมีนโยบายให้มีการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง
ในปีงบประมาณ ๒๕๖4 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดนโยบายการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง คือรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ในประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน ซึ่งในปีงบประมาณ ๒๕๖3ที่ผ่านมา ผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ปันแตพบว่าประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 95.84 ซึ่งผลการคัดกรองพบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ12.90 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน42 คนคิดเป็นร้อยละ1.87 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 20 คน คิดเป็น 325.04 อัตราต่อแสนประชากรในส่วนของกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า พบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 284ราย ซึ่งต้องได้รับการดูแลควบคุมโรคเพื่อลดความรุนแรงและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานขึ้น เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรค และเป็นการค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลงผู้ป่วยได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่กำหนด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 90 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. ร้อยละ 80 ของประชากร กลุ่มเสี่ยง 3. เพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ที่ได้รับการติดตาม ผล FPG ลดลง 4. เพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม 5. เพื่อจัดกิจกรรมใน คลิกนิก DPACร้อยละ 100 ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และและผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 6. เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า 7. เพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก
  1. คัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี  ขึ้นไป ร้อยละ 90 ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.
    กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง กลุ่มเสี่ยงลดลง ไม่เกิดผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง
  3. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม FBG ลดลงประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง
  4. ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกรายไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง
  5. ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ป่วยเบาหวานไม่เกินร้อยละ10 อัตราการตายลดลง
14.77 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,345
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 284
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 273
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง และไม่เป็นโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง และไม่เป็นโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย 2.จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์ 3. ชี้แจงให้ อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย 4. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้ 1. ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 50 กล่อง x 390 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญเข้ารับการคัดกรอง จำนวน 2,350 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 1,175บาท 3. สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์สำเร็จกล่องละ 185 บาท x 25 กล่อง เป็นเงิน 4,625บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี  ขึ้นไป ร้อยละ 90 ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.
  1.ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 218 คนx 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน  5,450  บาท   2.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร x
450 บาท  เป็นเงิน 450  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.  กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง กลุ่มเสี่ยงลดลง ไม่เกิดผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม FPG ลดลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม FPG ลดลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง  ได้รับการติดตาม FPG
  -ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม FBG ลดลงประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  โดยการติดตามเยี่ยมบ้าน โดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. -ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกรายไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน  โดยการตรวจตา  ไต  เท้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน  โดยการตรวจตา  ไต  เท้า   ร้อยละ 60  ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน  ตา  ไต  เท้าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง 1.ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มตรวจเท้า จำนวน 228 แผ่น  x 0.50  บาท เป็นเงิน  114 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญตรวจเท้า จำนวน  228 แผ่น x 0.50  บาท
เป็นเงิน114  บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
228.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมใน คลินิก DPAC ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ได้รับบริการในคลิกนิก DPAC

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมใน คลินิก DPAC ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ได้รับบริการในคลิกนิก DPAC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมใน คลินิก DPACที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้  ได้รับบริการในคลิกนิก DPAC
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน   46 คน x 25 บาท
เป็นเงิน 1,150 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ป่วยเบาหวานไม่เกินร้อยละ10 อัตราการตายลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2050.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเฝ้าระวังเชิงรุก  ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7  โดยการติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. 1. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มเยี่ยมบ้าน  จำนวน  156  แผ่น x 2 หน้า x 0.50 บาท
เป็นเงิน  156   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก  ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45  ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุงผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ ระดับน้ำตาลลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
156.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,634.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้
2. ลดอัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่
3. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.
4.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ซ้ำเพื่อติดตามผล
5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น
6. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติ


>