กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3321-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 33,634.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ ม.1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 33,634.00
รวมงบประมาณ 33,634.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 2345 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 284 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 273 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
14.77

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาของสังคมโลก เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นในระดับโลกรวมทั้งประเทศไทย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ สำหรับจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยพบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563 คือ 4,469.35 ,4,634.16, และ 4,916.33 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จะเห็นว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ในอำเภอควนขนุน จากข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2563 คือ 4,633, 4908, และ 4,983 ราย ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ จากรายงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต พบว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ตั้งแต่ พ.ศ.2561 ถึง พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จำนวน 263, 298 และ 315 ตามลำดับ มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการคัดกรองโรคเป็นการเฝ้าระวังที่สำคัญ ทำให้ประชาชนได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเอง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพตามข้อมูลของแต่ละบุคคล เมื่อประชาชนเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. รวมทั้งจัดกิจกรรมใน คลินิก DPACที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในกลุ่มป่วยจัดกิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนในตำบลปันแตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

คัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี  ขึ้นไป ร้อยละ 90 ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

0.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. ร้อยละ 80 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.  ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ที่ได้รับการติดตาม ผล FPG ลดลง

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานมารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม FBG ลดลงร้อยละ 40 ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง

0.00
4 เพื่อติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม

ผู้ป่วยได้รับยาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกรายไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรายใหม่ ประมวลผลจากฐานข้อมูล  HDC On Cloud  สสจ.พัทลุง  ร้อยละ 100

0.00
5 เพื่อจัดกิจกรรมใน คลิกนิก DPACร้อยละ 100 ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และและผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ป่วยเบาหวานไม่เกินร้อยละ10

0.00
6 เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจตา ไต เท้า  ร้อยละ 60

0.00
7 เพื่อเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก

กลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45  ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,634.00 4 31,200.00
1 พ.ค. 64 - 30 มิ.ย. 64 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง และไม่เป็นโรค 0 25,300.00 25,300.00
1 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. 0 5,900.00 5,900.00
1 - 31 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 40 ได้รับการติดตาม FPG ลดลง 0 0.00 0.00
1 พ.ค. 64 - 31 ต.ค. 64 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตาม 0 0.00 0.00
1 - 30 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า 0 228.00 -
1 - 30 พ.ค. 64 กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมใน คลินิก DPAC ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ได้รับบริการในคลิกนิก DPAC 0 2,050.00 -
1 พ.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7 ร้อยละ 45 ของผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังเชิงรุก 0 156.00 -
  1. ชี้แจงให้ อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย
  2. ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้
  3. รวบรวมข้อมูล ลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรมJHCIS
  4. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส.
  5. จัดกิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม FPG
  6. จัดกิจกรรมใน คลินิก DPACที่มีภาวะอ้วนลงพุง และผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ได้รับบริการในคลิกนิก DPAC
  7. ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ตาม CPG จากการตรวจค่าน้ำตาลจากหลอดเลือดดำ (FBS) มากกว่า 125 mg/dLจ่ายยารักษา โดย รพ.สต.
  8. จัดกิจกรรมติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
  9. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังเชิงรุก ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าร้อยละ 7
  10. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน โดยการตรวจตา ไต เท้า
  11. รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน
  12. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้
  2. ลดอัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่
  3. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 4.กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ซ้ำเพื่อติดตามผล
  4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น
  5. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 12:46 น.