กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ในเขตพื้นที่ตำบลสะเตงนอก พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ บึง คลอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมควบคุมโรคเปิดคลังข้อมูลสุขภาพสาธารณสุข ปี 2563 ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 30 ก.ย.63 พบเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจมน้ำถึง 692 ราย และข้อมูลจากมรณบัตรในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 3,306 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 559 ราย ส่วนข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2563 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–30 กันยายน 2563 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประสบเหตุจมน้ำมากถึง 692 ราย (การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการพลัดตกน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง จังหวัดยะลาจัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2562 จำนวน 4 คน คิดเป็น 3.42 อัตราต่อแสนประชากร (แหล่งข้อมูล :HDC สาธารณสุขจังหวัดยะลา)และจากข้อมูลเฝ้าระวังพบว่าเด็กมักจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆคน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งตำบลสะเตงนอกมีพื้นที่ติดแม่น้ำสายใหญ่ คือแม่น้ำปัตตานี และมีลำธาร คลอง บึง ฯลฯ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง เครือข่ายตำบลสะเตงนอกขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทและส่วนร่วม ที่สำคัญในการผลักดันป้องกันการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ในการปฏิบัติตน ในการป้องกันการจมน้ำและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียน เจ้าหน้าที่ มีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพในการช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำ

มีผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่การป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ผ่านทักษะการฟื้นคืนชีพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพและป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพและป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท × จำนวน 50 คน× 2 รุ่น เป็นเงิน 7,500บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท × จำนวน 50 คน × 2 รุ่น เป็นเงิน 7,000บาท 3. ค่าทีมวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท × 2 วันเป็นเงิน5,000บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ดำเนินโครงการ - ค่าปากกา 100 ด้าม × 5 บาท เป็นเงิน500 บาท - ค่าสมุด 100 เล่ม × 5 บาท เป็นเงิน500 บาท
- ค่าแผ่นพับเอกสารสี 100 แผ่น x 5 บาทเป็นเงิน500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพ ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตั้งสื่อเตือนภัยบริเวณใกล้แหล่งน้ำเสี่ยง และอุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ติดตั้งสื่อเตือนภัยบริเวณใกล้แหล่งน้ำเสี่ยง และอุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายเหล็กพร้อมติดตั้ง จำนวน 2 อัน ขนาด 1.5 ตร.ม ม.x 1.2 ตร.ม ป้ายละ 3,300 บาท          เป็นเงิน 6,600 บาท
  • แกลลอน จำนวน 8 อัน อันละ 150 บาท                                                                         เป็นเงิน 1,200 บาท
  • เชือก จำนวน 200 เมตร (1 ม้วน)                                                                                  เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสื่อเตือนภัยและอุปกรณ์ในการช่วยเหลือที่ทันท่วงที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพ ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ
2.เจ้าหน้าที่มีศักยภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง


>