กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 มีนาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศรัณยา ปูเตะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรคเปิดคลังข้อมูลสุขภาพสาธารณสุข ปี 2563 ตั้งแต่ 1 ม.ค.- 30 ก.ย.63 พบเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจมน้ำถึง 692 ราย และข้อมูลจากมรณบัตรในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำสูงถึง 3,306 ราย เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 559 ราย ส่วนข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2563 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–30 กันยายน 2563 มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประสบเหตุจมน้ำมากถึง 692 ราย (การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการพลัดตกน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยง จังหวัดยะลาจัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยงปานกลาง จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2562 จำนวน 4 คน คิดเป็น 3.42 อัตราต่อแสนประชากร (แหล่งข้อมูล :HDC สาธารณสุขจังหวัดยะลา)และจากข้อมูลเฝ้าระวังพบว่าเด็กมักจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายๆคน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องจึงมักกระโดดลงไปช่วยคนที่ตกน้ำ แหล่งน้ำที่มีเด็กเสียชีวิตจากการตกน้ำ จมน้ำสูงที่สุด คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งตำบลสะเตงนอกมีพื้นที่ติดแม่น้ำสายใหญ่ คือแม่น้ำปัตตานี และมีลำธาร คลอง บึง ฯลฯ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง เครือข่ายตำบลสะเตงนอกขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทและส่วนร่วม ที่สำคัญในการผลักดันป้องกันการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ในการปฏิบัติตน ในการป้องกันการจมน้ำและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำนักเรียน เจ้าหน้าที่ มีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพในการช่วยเหลือตนเองจากการจมน้ำ

มีผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่การป้องกันการเสียชีวิต จากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ผ่านทักษะการฟื้นคืนชีพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,300.00 2 22,700.00
23 - 24 ก.พ. 64 การอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพและป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ จำนวน 2 รุ่น 0 21,000.00 21,000.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตั้งสื่อเตือนภัยบริเวณใกล้แหล่งน้ำเสี่ยง และอุปกรณ์ช่วยเหลือเบื้องต้น 0 8,300.00 1,700.00

1.เสนอโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ และอนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการ
2.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 3.สำรวจค้นหาข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมประจำ,ติดแม่น้ำปัตตานีคลอง,บึง 5.การจัดเตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือและป้ายเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง 6.อบรมแกนนำนักเรียน/นักศึกษา,ครูเจ้าหน้าที่ และแกนนำชุมชน 7.ติดตาม ประเมิน และ สรุปผล 8.รายงานผลการดำเนินงานให้กับทางกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเตงนอกทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะการฟื้นคืนชีพ ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำ 2.เจ้าหน้าที่มีศักยภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการจมน้ำในพื้นที่เสี่ยง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2564 13:34 น.