กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู

๑.นางสาวรสนา หนูวงศ์
๒. นายประกาศิตเพชรกาฬ
๓. นางสาวบุญศรีมาลินี
๔. นางสาวจิรัฐติกาล เจ๊ะสา
๕. นางจุรีพร มานะกล้า

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ หากมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีโดยจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

จากการสำรวจการใช้สารเคมีของเกษตรกรโดยอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่าเกษตรในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่าสารเคมีที่มีการใช้มากที่สุดคือสารกำจัดวัชพืช ( พาราควอต ไกลโฟเสท )ซึ่งในการนำมาใช้นั้นส่วนใหญ่จะมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ในการป้องกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบกับสุขภาพโดยตรงจากการเฝ้าระวังสุขภาพของเกษตรกรโดยการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสในปี ๒๕๖๓ คัดกรองจำนวน๑๔๘ คน พบว่าผลเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน ๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๐๓ ระดับมีความเสี่ยงจำนวน ๗๒คน ร้อยละ ๔๘.๖๕ระดับปลอดภัย๓๓ คน ร้อยละ ๒๒.๒๙ในขณะที่พบผลเลือดในระดับปกติเพียงจำนวน๓คนคิดเป็นร้อยละ ๒.๐๓

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงโรงพยาบาลละงูเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรประจำปี ๒๕๖๔ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกวิธี เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย รวมทั้งเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับบริการรักษาพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีและเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกวิธี

เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกวิธีร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย

เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น  ร้อยละ ๑๕

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจเกษตรกรในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
สำรวจเกษตรกรในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

๑.๑.๑ สำรวจเกษตรกรในพื้นที่ตำบลกำแพงโดยอาสาสมัครสาธารณสุข

๑.๑.๒ ทำแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( นบก.1-56)

๑.๑.๓ คัดเลือกเกษตรกรที่มีการใช้/สัมผัส สารเคมีเพื่อเข้าร่วมโครงการ


เป้าหมาย

  • เกษตรกรในพื้นที่ตำบลกำแพง

งบประมาณ

  • ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวน ๑๕๐ ชุดๆละ ๒ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สารเคมีของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สารเคมีของเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1.1 ตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือด

2.1.2 แจ้งผลการตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด

2.1.3 ให้ความรู้เรื่องการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช,การป้องกันตนเองเมื่อใช้สารเคมีและสาธิตการใช้อุปกรณ์

2.1.4 การปฏิบัติตัวเมื่อพบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการใช้สมุนไพรล้างพิษ

2.1.5 ให้บริการรักษาพยาบาลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการแช่มือแช่เท้า

2.1.6 สอน/สาธิตการทำชาชงสมุนไพร


เป้าหมาย

  • เกษตรกรผู้ใช้ / สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจำนวน๖๐ คน

งบประมาณ

๑.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๖๕ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๔,๒๒๕ บาท

๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน ๖๕ คนๆละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ เป็นเงิน ๓,๒๕๐ บาท

๓.ค่าตอบแทนวิทยากร ๔ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๒,๔๐๐ บาท

๔.ค่ายานพาหนะในการเดินทางผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน ๖๐ คนๆละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท

๕.ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด ๑.๕x๓ เมตร จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๖๗๕ บาท

๖.ค่าวัสดุ/อุปกรณ์

๖.๑ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ( กระเป๋า สมุด ปากกา ) จำนวน ๖๐คนๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท

๖.๒.ค่าจัดทำคู่มือจำนวน ๖๐ เล่มๆละ ๕๐ บาท เป็นเงิน๓,๐๐๐ บาท

๖.๓ ค่าชุดอุปกรณ์เจาะเลือดเกษตรกร

  • ชุดอุปกรณ์การเจาะเลือด ๑ ชุดๆละ ๑,๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท

  • ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสจำนวน ๒ ขวดๆ ละ ๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท

๗.ค่าสมุนไพรในการแช่มือ-แช่เท้า

๗.๑. รางจืด จำนวน ๒๐ กิโลกรัมๆละ ๘๐ บาท เป็นเงิน ๑,๖๐๐ บาท

๗.๒ ใบเตย จำนวน ๑๐ กิโลกรัมๆละ ๒๐ บาทเป็นเงิน ๒๐๐ บาท

๗.๓ ใบย่านาง จำนวน ๒๐ กิโลกรัมๆละ x ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท

๗.๔ ตะไคร้ จำนวน ๑๐ กิโลกรัมๆละ x ๓๐ บาท เป็นเงิน ๓๐๐ บาท

๘. ค่าอุปกรณ์ในการแช่มือ-แช่เท้า

๘.๑ ผ้าเช็ดมือ เช็ดเท้า จำนวน ๖๐ ผืนๆ ละ x ๓๕ บาท เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท

๘.๒ กะละมังแช่มือ-แช่เท้า จำนวน ๖๐ ใบๆละ x ๓๐ บาท เป็นเงิน๑,๘๐๐ บาท

๙.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสอน / สาธิตการทำชาชงสมุนไพร จำนวน ๑,๐๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๓๓,๖๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33650.00

กิจกรรมที่ 3 จัดบริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละอียดกิจกรรม

2.2.1 ให้บริการรักษาพยาบาลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ( ชาชงรางจืด / ใบรางจืด )

เป้าหมาย

  • เกษตรกรผู้ใช้ / สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจำนวน๖๐ คน

งบประมาณ

๑. ค่าชาชงรางจืดจำนวน ๖๐ คนๆ ละ ๕ ห่อๆละ ๓๕ บาท เป็นเงิน ๑๐,๕๐๐ บาท

๒. ค่าต้นรางจืดจำนวน ๖๐ ต้น ๆละ ๖๐ บาท เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๑๔,๑๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 4 การประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
การประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละอียดกิจกรรม

2.3.1 จัดทำป้ายไวนิลความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมีเพื่อประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านจำนวน ๑๒ หมู่บ้าน

เป้าหมาย

  • ๑๒ หมู่บ้าน ต.กำแพง

งบประมาณ

๑.ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด ๑x๑.๕ เมตร จำนวน ๑๒ หมู่ละ ๓ แผ่นๆละ ๒๒๕ บาท เป็นเงิน ๘,๑๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1.1 ประชุมติดตาม พร้อมทั้งให้ความรู้ คำแนะนำรายกลุ่ม / รายบุคคล

3.1.2 การติดตามเจาะเลือดเกษตรกรครั้งที่ ๒ (ห่างกัน ๓เดือน)

3.1.3 เปรียบเทียบผลการเจาะเลือดหารสารเคมีตกค้างและแจ้งกลุ่มเป้าหมายทราบผล


เป้าหมาย

  • เกษตรกรผู้ใช้ / สัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจำนวน๖๐ คน

งบประมาณ

๑.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเกษตรกร จำนวน ๖๐ คนๆละ ๑ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท

๒.ค่าเข็มเจาะเลือดเกษตรกร ๑ กล่องๆละ ๙๐๐ บาท เป็นเงิน ๙๐๐ บาท

๓.ค่า tube ใส่เลือด ๒ ขวดๆ ละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๐๐ บาท

๔.ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน ๒ ขวดๆ ละ ๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๔๐๐ บาท

รวมเป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

๔.๑.๑ จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน ๒ครั้ง

๔.๑.๒ จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน ๔เล่มๆละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,150.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรมีความรู้และสามารถใช้สารเคมีทางการเกษตรได้ถูกวิธี
๒. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย


>