กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร ประจำปี 2564
รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 61,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 61,150.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 61,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ หากมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีโดยจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

จากการสำรวจการใช้สารเคมีของเกษตรกรโดยอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่าเกษตรในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพบว่าสารเคมีที่มีการใช้มากที่สุดคือสารกำจัดวัชพืช ( พาราควอต ไกลโฟเสท )ซึ่งในการนำมาใช้นั้นส่วนใหญ่จะมีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ในการป้องกัน
ซึ่งจะมีผลกระทบกับสุขภาพโดยตรงจากการเฝ้าระวังสุขภาพของเกษตรกรโดยการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสในปี ๒๕๖๓ คัดกรองจำนวน๑๔๘ คน พบว่าผลเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน ๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๐๓ ระดับมีความเสี่ยงจำนวน ๗๒คน ร้อยละ ๔๘.๖๕ระดับปลอดภัย๓๓ คน ร้อยละ ๒๒.๒๙ในขณะที่พบผลเลือดในระดับปกติเพียงจำนวน๓คนคิดเป็นร้อยละ ๒.๐๓

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพงโรงพยาบาลละงูเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรประจำปี ๒๕๖๔ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกวิธี เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย รวมทั้งเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสุขภาพและได้รับบริการรักษาพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีสุขภาพที่ดีและเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกวิธี

เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีที่ถูกวิธีร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย

เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น  ร้อยละ ๑๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 61,150.00 0 0.00
1 - 30 เม.ย. 64 สำรวจเกษตรกรในพื้นที่ 0 300.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สารเคมีของเกษตรกร 0 33,650.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดบริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกร 0 14,100.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 พ.ค. 64 การประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมี 0 8,100.00 -
1 - 31 ก.ค. 64 ติดตามผล 0 4,000.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 รายงานผลโครงการ 0 1,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

ขั้นเตรียมการ

๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ


ขั้นดำเนินงาน

กิจกรรมที่ ๑ สำรวจเกษตรกรในพื้นที่ /คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

๑.๑ สำรวจจำนวนเกษตรกรในพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข

๑.๒ คัดเลือกเกษตรกรที่มีการใช้สารเคมีเพื่อเข้าร่วมโครงการ

๑.๓ ทำแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( นบก.1-56)

กิจกรรมที่ ๒ อบรมเชิงปฏิบัติการการใช้สารเคมีของเกษตรกร

๒.๑ ทำแบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

๒.๒ การตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือด

๒.๓ แจ้งผลการตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด

๒.๔ ให้ความรู้เรื่องการเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การป้องกันตนเองเมื่อใช้สารเคมีและสาธิต การใช้อุปกรณ์

๒.๕ การปฏิบัติตัวเมื่อพบสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดและการใช้สมุนไพรล้างพิษ

๒.๖ ให้บริการรักษาพยาบาลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการแช่มือแช่เท้า

๒.๗ สอน / สาธิตการทำชาชงสมุนไพร

กิจกรรมที่ ๓ จัดบริการรักษาพยาบาลฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกร

๓.๑ ให้บริการรักษาด้วยชาชงรางจืด /ใบรางจืด

กิจกรรมที่ ๔ การประชาสัมพันธ์/ให้ความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมี

๔.๑ จัดทำป้ายไวนิลความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมีเพื่อประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน

กิจกรรมที่ ๕ การติดตามเจาะเลือดเกษตรกรที่พบสารเคมีในเลือดครั้งที่

๕.๑ การเจาะเลือดเกษตรกรครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ แต่ละครั้งห่างกัน ๒ เดือน

กิจกรรมที่ ๖ รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๒ครั้ง

๖.๑ จัดทำเอกสาร/นำเสนอโครงการ จำนวน ๒ ครั้ง

๖.๒ จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ


ขั้นสรุปผล

๑. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

๒.สรุปผล / รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกษตรกรมีความรู้และสามารถใช้สารเคมีทางการเกษตรได้ถูกวิธี

๒. เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสารเคมีในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2564 15:48 น.