กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจ ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อชีวีมีสุขปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.3 บ้านลำพด

1. นางสาวเรวดี ศรีผล
2. นางสาวหทัยชนกทองคำ
3. ร.ต.ท.มีสุข รัตนชุล
4. นายสมใจ แสงสุวรรณ
5. นางศรีสุดา ประยูรเต็ม

หมู่ 3,4,6,7

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมอย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวันอันควรทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในกาดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน11.4ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 35ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากร
พันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7ตามลำดับเป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และ ผู้หญิงร้อยละ 2.2โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคนและทั้งบุหรี่ม้วนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142คนชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายระยะเวลา 3 ปี (ปี 2560-2562)จะดำเนินการเพื่อลดอัตราจำนวนประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีอายุ 15ปีขึ้นไป จากปัจจุบันร้อยละ 19.9 ให้เหลือร้อยละ 16.7และลดอัตราการรับควันบุหรี่มือสองให้เหลือร้อยละ 25 ซึ่งปัญหาเหล่านี้ นี้เราจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถกระทำได้จึงต้องสร้างความตระหนักให้ชุมชน โรงเรียน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ รวมถึงป้องกันช่วยลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจจะได้เกิดความตระหนักถึงโทษของภัยบุหรี่

กลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ ความเข้าใจ โทษพิษภัยของบุหรี่ และสารเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 100

158.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่

กลุ่มเสี่ยงที่เป็นนักสูบรายใหม่ มีจำนวนลดลงร้อยละ 10 ต่อปี

158.00 30.00
3 เพื่อสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้เกิดการละ ละ เลิก การสูบบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและผู้ที่ อยู่ใกล้เคียง

ผู้เสพที่เข้าสู่ระบบบำบัดเลิกเสพได้สำเร็จอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนร้อยละ 10 ต่อปี สามารถเป็นบุคคลต้นแบบในชุมชนได้

158.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 58
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม พัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่/โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่/กลยุทธ์ในการเลิกบุหรี่/การเข้าระบบบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ให้แก่

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม พัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่/โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่/กลยุทธ์ในการเลิกบุหรี่/การเข้าระบบบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ให้แก่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มที่ 1 นักเรียนโรงเรียนวัดลำพดจินดาราม  จำนวน  40  คน   มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังนี้ -  ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 แผ่น  เป็นเงิน  500  บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆละ 600  บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 25  บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท -  ค่าวัสดุในการอบรมพร้อมเอกสารให้ความรู้ จำนวน  40  ชุดๆละ 30  บาท  เป็นเงิน 1,200 บาท

    กลุ่มที่ 2 กลุ่มประชาชนทั่วไปในพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านลำพด จำนวน 60  คน  มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานดังนี้

-  ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆละ 600  บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท

/ - ค่าอาหารว่าง -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 25  บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท -  ค่าวัสดุในการอบรมพร้อมเอกสารให้ความรู้ จำนวน  60  ชุดๆละ 30  บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท         กลุ่มที่ 3 กลุ่ม อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำพด จำนวน 58 คน -  ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆละ 600  บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 25  บาท  เป็นเงิน 1,450 บาท -  ค่าวัสดุในการอบรมพร้อมเอกสารให้ความรู้ จำนวน  58  ชุดๆละ 30  บาท  เป็นเงิน 1,740 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจโทษพิษภัยของบุหรี่่ และสารเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงที่เป็นนักสูบรายใหม่มีจำนวนลดลงร้อยละ 10 ต่อปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14590.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,590.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สูบบุหรี่รายใหม่มีจำนวนลดลงร้อยละ 10ต่อปี
2. ผู้เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ โทษพิษของบุหรี่และสารเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 100
3. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการสูบบุหรี่ สามารถเลิกบุหรี่ได้และเป็นบุคคลต้นแบบในชุมชน


>