กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพแรงงานนอกระบบ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

4.00
2 จำนวนฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ (พื้นที่นำร่อง) (หมู่บ้าน)

 

4.00
3 จำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)

 

100.00

แรงงานนอกระบบหมายถึง “ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็น “ผู้ที่ทำงานส่วนตัวโดยจะมีลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ หรือลูกจ้างที่ไม่มีประกันสังคมหรือสวัสดิการพนักงานของรัฐ” แรงงานนอกระบบของไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตร และที่เหลือเป็นแรงงานนอกระบบที่ทำงานนอกภาคเกษตร ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ทำอาชีพค้าปลีกและบริการด้านอาหาร อาทิ พ่อค้าแม่ค้าตามร้านขายของชำ ร้านค้าออนไลน์ หาบเร่แผงลอย และพนักงานบริการในร้านอาหาร
ในพื้นที่ตำบลนาโหนด มีแรงงานนอกระบบในหลายอาชีพเช่น ทำนา ทำสวน ปลูกพืชระยะสั้น รับจ้างทั่วไป ค้าขาย เสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้นแต่เนื่องจากในพื้นที่ตำบลนาโหนด ยังไม่มีอาสาสมัครแรงานที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำด้านสุขภาพไม่มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ กลุ่มแรงงานนอกระบบไม่ได้รับการดูแลในเรื่องของภาวะสุขภาพ ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพแรงงานนอกระบบ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

4.00 4.00
2 เพื่อให้มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ

มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบ (พื้นที่นำร่อง) (หมู่บ้าน)

4.00 4.00
3 เพื่อให้กลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (คน)

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรับสมัครอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรับสมัครอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รันสมัครอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4 หมู่บ้าน ๆ ละ 1 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2564 ถึง 9 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 4 หมู่บ้าน
ผลลัพธ์
อาสาสมัครแรงงานในพื้นที่เป้าหมาย หมู่บ้านละ 1 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบ ในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านที่3 หมู่บ้านที่4 หมู่บ้านที่ 6 และหมู่บ้านที่ 11 ตำบลนาโหนด อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง รวม จำนวน 1124 ครัวเรือน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าแบบสำรวจ จำนวน 1124 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 5,620 บาท
2.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการสำรวจข้อมูล จำนวน1124 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 22,480 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2564 ถึง 10 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ จำนวน 4 หมุ่บ้าน
ผลลัพธ์
แรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เกี่ยวกับโรคจากการทำงาน และวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 50 คน รวม 100 คนโดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท /คน จำนวน 2 คน เป็นเงิน 7,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ วิทยากร และกลุ่มแรงงานที่เข้าร่วมการอบรม จำนวน 100 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
3.ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 520 บาท
4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการอบรม เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
กลุ่มแรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เข้าร่วมอบรมร้อยละ 80
ผลลัพธ์
กลุ่มแรงงานที่เข้ารับการอบรม ได้รับความรู้ เรื่องโรคจากการทำงาน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12220.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีฐานข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลนาโหนด จำนวน 4 หมู่บ้าน
แรงงานนอกระบบที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 10
มีอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น จำนวน 4 คน


>