กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สนามชัย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สนามชัย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย

ตำบลสนามชัย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในประเทศไทยเราประชากรไทยมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานผู้มีรายได้น้อย มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมเป็นหลักและทำงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการป่วย และในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยเนื่องจากมีใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่าง เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
จากสถานการณ์สถิติการเจ็บป่วยของประชากรตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปี พ.ศ.2544 –2560 มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษสารเคมีกำจักศัตรูพืชจำนวน 34,221 รายเสียชีวิตจำนวน49 รายเฉลี่ยป่วยปีละ 2,013 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เพศชาย ช่วงอายุ45 – 54 ปี อาชีพเกษตรกรรมและในปี 2561 จากผู้ประกอบอาชึพเกษตรกรรมทั่วประเทศ จากการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร พบผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัยร้อยละ 40.99 จากผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ในพื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 26.16การประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่นาสวนผสม รวมถึงเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เพื่อการค้าขาย และมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย จึงเห็นความสำคัญสุขภาพของเกษตรกรในตำบลสนามชัย จึงได้จัดทำโครงการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีในตำบลสนามชัย ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังป้องกันการเจ็บป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรในตำบลสนามชัย

เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรที่ตรวจเลือดหารสารเคมีครั้งแรกและมีผลเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการติดตามตรวจซ้ำทุก 30 วันจนผลเลือดปกติและปลอดภัยทุกคน

เกษตรกรที่ตรวจเลือดหารสารเคมีครั้งแรกและมีผลเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการติดตามตรวจซ้ำ ทุก  30วัน จนผลเลือดปกติและปลอดภัย ร้อยละ ๑๐๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมอสม.และผู้เกี่ยวข้อง ถึงแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดเตรียมทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอสม.และผู้เกี่ยวข้อง ถึงแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดเตรียมทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมอสม.และผู้เกี่ยวข้อง ถึงแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดเตรียมทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการฯและกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ตามแก่เกษตรกรและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ตามแก่เกษตรกรและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี ติดทุกหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน - ค่าป้ายเล็กขนาด 1 x 2 เมตรพร้อมติดตั้งจำนวน 5 ป้ายๆละ300 เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ป้ายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการตรวจหาสารเคมีในเลือด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการตรวจหาสารเคมีในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการตรวจหาสารเคมีในเลือด จำนวน 1วัน เป้าหมาย 50คน -ค่าจัดทำเอกสารจำนวน 50 เล่มๆละ10 บาทเป็นเงิน 500 บาท -ค่าชุดทดสอบหาสารเคมีในเลือดโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 1 ชุดๆละ1,000บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐บาท -ค่า Capillary Tube จำนวน 2 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200บาท -สไลด์แก้วขนาด 1x3 นิ้ว (50 แผ่นต่อกล่อง)จำนวน 2กล่องๆละ200 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆและการตรวจหาสารเคมีในเลือดของเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีซ้ำ ทุก 30 วัน ซ้ำในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัยต่อเนื่องจนกว่าผลเลือดปกติ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีซ้ำ ทุก 30 วัน ซ้ำในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัยต่อเนื่องจนกว่าผลเลือดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีซ้ำ ทุก  30  วัน ซ้ำในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัยต่อเนื่องจนกว่าผลเลือดปกติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีผลเลือดเป็นปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรในพื้นที่ มีความรู้ สามารถปฏิบัติตน ลด ละ เลิก การสัมผัสสารเคมีได้ถูกต้องและทำให้ประชาชนมีการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารเคมี ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยลดลง มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี


>