กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5244-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณิภัค สัญจร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 29 ธ.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 29 ธ.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 3,600.00
รวมงบประมาณ 3,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในประเทศไทยเราประชากรไทยมีซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานผู้มีรายได้น้อย มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมเป็นหลักและทำงานมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการป่วย และในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมก็มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยเนื่องจากมีใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่าง เช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น จากสถานการณ์สถิติการเจ็บป่วยของประชากรตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปี พ.ศ.2544 –2560 มีรายงานผู้ป่วยได้รับสารพิษสารเคมีกำจักศัตรูพืชจำนวน 34,221 รายเสียชีวิตจำนวน49 รายเฉลี่ยป่วยปีละ 2,013 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่เพศชาย ช่วงอายุ45 – 54 ปี อาชีพเกษตรกรรมและในปี 2561 จากผู้ประกอบอาชึพเกษตรกรรมทั่วประเทศ จากการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร พบผลเสี่ยงและไม่ปลอดภัยร้อยละ 40.99 จากผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในพื้นที่ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 26.16การประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่นาสวนผสม รวมถึงเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เพื่อการค้าขาย และมีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสนามชัย จึงเห็นความสำคัญสุขภาพของเกษตรกรในตำบลสนามชัย จึงได้จัดทำโครงการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีในตำบลสนามชัย ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังป้องกันการเจ็บป่วยและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรในตำบลสนามชัย

เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรที่ตรวจเลือดหารสารเคมีครั้งแรกและมีผลเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการติดตามตรวจซ้ำทุก 30 วันจนผลเลือดปกติและปลอดภัยทุกคน

เกษตรกรที่ตรวจเลือดหารสารเคมีครั้งแรกและมีผลเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการติดตามตรวจซ้ำ ทุก  30วัน จนผลเลือดปกติและปลอดภัย ร้อยละ ๑๐๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,600.00 0 0.00
1 - 31 ธ.ค. 63 ประชุมอสม.และผู้เกี่ยวข้อง ถึงแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดเตรียมทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
30 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 การประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ตามแก่เกษตรกรและชุมชน 0 1,500.00 -
30 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการตรวจหาสารเคมีในเลือด 0 2,100.00 -
30 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ติดตามเจาะเลือดหาสารเคมีซ้ำ ทุก 30 วัน ซ้ำในกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือดไม่ปลอดภัยต่อเนื่องจนกว่าผลเลือดปกติ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกษตรกรในพื้นที่ มีความรู้ สามารถปฏิบัติตน ลด ละ เลิก การสัมผัสสารเคมีได้ถูกต้องและทำให้ประชาชนมีการป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารเคมี ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยลดลง มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2564 00:00 น.