กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

หมู่ที่ 1(4 ชุมชน) และ หมู่ที่ 5 (2 ชุมชน)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

10.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

 

10.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง 3 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก 1 ปี ในกรณีกลุ่มเสี่ยง สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จากผลการดำเนินงานปี 2563 ที่ผ่านมา ในเขตเทศบาลตำบลควนโดน ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านม พบสตรีที่มีความผิดปกติที่ต้องตรวจโดยเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 ราย พบ ถุงไขมันอักเสบ จำนวน 4ราย ก้อนเนื้อไม่ใช่มะเร็ง จำนวน 3 ราย ซึ่งได้ส่งเอกซเรย์เต้านม และความผิดปกติอื่นๆ เช่น มีผื่นคันเต้านมอักเสบ ผิวหนังและหัวนมเป็นรอยบู๋ม ซึ่งได้ส่งต่อพบแพทย์และผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งนับผลงานสะสม ตั้งแต่ ปี 2563 ผลงานยังถือว่าต่ำเกณฑ์ (ร้อยละ 25)
ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่าน ภายใต้สถานการณ์ โรคไวรัสโคโรนา (โควิด-19)ทำให้การดำเนินงานมีข้อจำกัดในหลายด้านทั้งเรื่อง การทำกลุ่มเพื่อเพิ่มเติมทักษะและการเข้ารับการตรวจที่ต้องชะงักไปเพราะการจัดบริการที่ต้องจำกัดกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมขาดความต่อเนื่องทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมใหม่ ให้เหมาะสมกับวิถีใหม่ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะให้กุล่มแกนนำ เป็นวิทยากรชุมชน ขยายผลต่อสตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินงานและกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจตามชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเพื่อค้นหาและคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มต้น และได้เป็นการกระตุ้น การดูแลตนเอง-สตรีในชุมชน ร่วมกันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมด้วยเองถูกต้องร้อยละ 80

25.00 80.00
2 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 25

25.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 15/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขสู่ แกนนำ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขสู่ แกนนำ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดเลือก อสม.เพื่อเข้าอบรมหลักสูตร อสม.เชี่ยวชาญด้านการคัดกรองเต้านมจำนวน30 คน เพื่อเป็นวิทยากรย่อยในชุมชน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วัน
  2. จัดทำทะเบียนรายชื่อ ผู้ที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่และ ผู้ที่มีประวัติทางพันธุกรรม
  3. จัดทำอุุปกรณ์การสอน เต้านมเทียมผลิตจากวัสดุที่เหลือใช้ในชุมชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
  4. จัดประชุม พัฒนาศักยภาพ วิทยากรชุมชน ด้านการคัดกรองการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
  5. จัดทำกลุ่ม ฝึกปฏิบัติ
  6. จัดทำเอกสาร เครื่องมือและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในชุมชน
  7. จัดทำแผนการปฏิบัติงานในชุมชน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(มื้อละ 25 บาท)x 30 คน x 6 มื้อ (3วัน)เป็นเงิน 4,500บาท 2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำ (มื้อละ 60 บาท)x 30 คน x 3 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท
2. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 15 ชั่วโมง ๆละ 300บาท เป็นเงิน 4500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีแกนนำเชี่ยวชาญผ่านการประเมิน ร้อยละ100
  2. มีอุปกรณ์การสอนครบทุกชุมชน
  3. มีชุดข้อมูลสตรีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นปัจจุบันครบทุกชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นัดกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นมาตราการเฝ้าระวังDMHTT
  2. จัดเตรียมสถานที่ ให้เหมาะสมในการทำกิจกรรม
  3. จัดกลุ่มย่อยในชุมชน กลุ่มละ ไม่เกิน 10 คน
  4. วิทยากรชุมชน สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
  5. ประเมินการสอน สาธิตย้อนกลับ
  6. จัดกลุ่มบัดดี้ เตือนการตรวจในแต่ละเดือน
  7. หากพบความผิดปกติ ส่งต่อ รพ.สต.ควนโดน
  8. จัดทำทะเบียนสตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดทำกิจกรรมกลุ่มในชุมชนกลุ่มละ 10 คนๆละ 25 บาท จำนวน 30 กลุ่มเป็นงิน 7500บาท (แบ่งกลุ่มย่อยในแต่ละชุมชน)
2. ค่าตอบแทนวิทยากรชุมชน คนละ 300บาท จำนวน30 คนเป็นเงิน9000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2564 ถึง 16 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการจัดกลุ่มครบ 30 กลุ่ม
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถุกต้อง ร้อยละ 85
  3. กรณีผิดปกติ ส่งต่อ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชน เพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นำรายชื่อสตรีกลุ่มเสี่ยง ที่จะทำการตรวจมาลงทะเบียน
  2. จัดทำบัตรนัด แนะนำวิธีการปฏิบัติตัว โดย ระบุ ตามคิววัน เวลา (ให้บริการ เช้า 10 คน บ่าย 10 คน)
  3. ส่งบัตรเชิญเข้ารับการตรวจ แก่กลุ่มสตรีเป้าหมาย
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์การตรวจ
  5. ประสานวิทยากรเฉพาะทางในการตรวจคัดกรองมะเร้งปากมดลูก
  6. ให้บริการการตรวจคัดรอง ณ รพ สต ควนโดน
  7. ส่งสไลด์การตรวจ ไป รพ.ควนโดน
  8. ส่งผลการตรวจให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย
  9. กรณีผิดปกติ ส่ง ต่อพบแพทย์ รพ.ควนโดน

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนการสำรวจ ค้นหา รายชื่อกลุ่มเป้าหมายในชุมชนคนละ 200 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 6000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 75คนๆละ 25บาท เป็นเงิน 1875 บาท (กลุ่มเป้าหมาย 300 คน คิดร้อยละ 25 )
3. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 25 ชั่วโมงเป็นเงิน 7500 บาท
4.ค่าอุปกรณ์ ( ขอสนับสนุน จาก รพ.ควนโดน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 10 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 25
  2. กรณีผิดปกติ ส่งต่อ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15375.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุม สรุป คืนข้อมูล
  2. จัดทำสรุปบทเรียน ปี 64
  3. สรุปข้อเรียนรู้ ปัญหาอุปสรรค
  4. พัฒนาแนวทาง ปี 65

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ )จำนวน 30 คน ป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำ (มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ ) จำนวน 30 คนเป็นเงิน 1,800 บาท 3.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน8ชั่วโมงเป็นเงิน 2400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำ เข้าร่วม ร้อยละ 100 2.มีข้อสรุปและแนทางการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,975.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมด้วยเองถูกต้องร้อยละ 80
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 25
3.พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง


>