กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาพู่

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 16

1.นางสาวระพีพรรณเกษบุตร

พื้นที่ตำบลนาพู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

12.00

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมี โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติของเป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมกับโรคที่ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น สถานีอนามัยนาพู่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลวงเปิดให้บริการคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่อง พบผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 56.23 ในแต่ละปีผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน จากข้อมูลข้างต้น การหาแนวทางในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยเอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเข้าถึงการรับบริการตามสิทธิประโยชน์ ดังนั้นทาง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สถานีอนามัยนาพู่และรพ.สต.บ้านหลวง ได้เห็นถึงความสำคัญของอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ ควบคู่ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ประสบอยู่ และเป็นการป้องกันความรุนแรงของโรคในการลดภาระค่าใช้จ่ายและอัตราการสูญเสียของชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

12.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00
3 เพื่อคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยในการส่งเสริมสุขภาพ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการ 1ป้าย              เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 50x80 คนx 1มื้อ      เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 25x80คนx2มื้อ            เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการประชุม          เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
2. กลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องและรับทราบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใด เพื่อปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยแพทย์วิถีธรรม
3. กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการเกิดภาวะแรกซ้อนทาง ตา ไต เท้าลดลง


>