กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 64-L9256-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 16
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยนาพู่ รพ.สต.บ้านหลวง
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.นาพู่
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 17.5841615,102.7673574place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ก.พ. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีจำนวนสูงมากขึ้น ซึ่งจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมี โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติของเป้าหมายสำหรับกลุ่มป่วยดังกล่าว และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมกับโรคที่ป่วย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น สถานีอนามัยนาพู่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหลวงเปิดให้บริการคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการต่อเนื่อง พบผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 56.23 ในแต่ละปีผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน จากข้อมูลข้างต้น การหาแนวทางในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดความรุนแรงของโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในกลุ่มป่วยดังกล่าว จึงมีความจำเป็นและควรเริ่มต้นจากการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยเอง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเข้าถึงการรับบริการตามสิทธิประโยชน์ ดังนั้นทาง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สถานีอนามัยนาพู่และรพ.สต.บ้านหลวง ได้เห็นถึงความสำคัญของอัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ ควบคู่ความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ประสบอยู่ และเป็นการป้องกันความรุนแรงของโรคในการลดภาระค่าใช้จ่ายและอัตราการสูญเสียของชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

12.00 10.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00
3 เพื่อคัดแยกกลุ่มผู้ป่วยในการส่งเสริมสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
8 ก.พ. 64 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรัง 0 10,000.00 -
  1. ร่วมกันประชุมวางแผน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  2. จัดอบรมให้ความรู้และทักษะแก่กลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพ
  3. จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนด้วยแพทย์วิถีธรรม
  4. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
  2. กลุ่มเป้าหมายที่ผลการตรวจเลือดผิดปกติได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องและรับทราบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มใด เพื่อปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยแพทย์วิถีธรรม
  3. กลุ่มเป้าหมายมีอัตราการเกิดภาวะแรกซ้อนทาง ตา ไต เท้าลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 00:00 น.