กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนโดน

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

1.นางสาวเยาวรี โต๊ะแดง
2.นางอาฉ๊ะ เกปัน
3.นางสาวมารียา โสะประจิน
4.นางสาวรูปา นายหนู
5.นางสาวรุสณี แซะอามา

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนของเด็ก (ที่สมัครเข้าเรียนในปีการศึกษา 2564 เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 จำนวน 6 คน) (เด็กที่เรียนอยู่ในปีการศึกษา 2563 เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 จำนวน 4 คน)ที่ผ่านการประเมินด้วยเครื่องมือ DSPM โดยพ่อแม่มีภาวะเสี่ยงพัฒนาการล่าช้า 3 คน และสงสัยพัฒนาการล่าช้าด้านร่างกายและการสื่อสาร จำนวน 7 คนรวมจำนวน 10 คน

10.00
2 ร้อยละของผู้ปกครอง ขาดทักษะในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้สมวัย

จำนวนของผู้ปกครองนักเรียนใหม่ที่มีอายุ (2-3 ปี)ประจำปีการศึกษา2564 จำนวน 39 คน ขาดทักษะในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้สมวัย จากจำนวนผู้ปกครองทั้งสิ้น 51 คน

76.40

ด้วย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดอะห์มาดีย๊ะปันจอร์ มีการคัดกรองพัฒนาการของเด็กที่เข้ามาสมัครเป็นนักเรียนประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อเดือนมกราคม ที่ผ่านมา พบว่า จำนวนของเด็ก (ที่สมัครเข้าเรียนในปีการศึกษา 2564 เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 จำนวน 6 คน) (เด็กที่เรียนอยู่ในปีการศึกษา 2563 เดือนมกราคม - มีนาคม 2564 จำนวน 4 คน) ที่ผ่านการประเมินด้วยเครื่องมือ DSPM โดยพ่อแม่ ผู้ปกครองมีภาวะเสี่ยงพัฒนาการล่าช้า 3 คน และสงสัยพัฒนาการล่าช้าด้านร่างกาย การสื่อสาร และอื่นๆ จำนวน 7 คนรวมจำนวน 10 คนโดยมีรายละเอียดดังนี้
-เด็กมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้าที่ต้องได้รับส่งเสริม จำนวน 2 คน (ผู้ปกครองไม่สะดวกและปฏิเสธการเข้ารับการอบรมหรือแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการเนื่องจากไม่มีเวลา)
-เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา และพัฒนาทางภาษาและการพูดล่าช้า ได้รับการส่งต่อแล้วและติดตาม จำนวน 1 คน
-เด็กที่มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ จำนวน 4 คน
-เด็กที่มีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ สมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง จำนวน 3 คน
จากการดำเนินโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้ในเรื่องพัฒนาการเด็กปฐมวัย แต่ส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้สมวัย เพราะไม่มีเวลา และให้ลูกใช้มือถือ แทนการเรียนรู้ผ่านการเล่น หรือทำกิจกรรมในครอบครัว พ่อแม่คาดหวังให้เด็กเรียนรู้ ณ ศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งในความเป็นจริง การส่งเสริมพัฒนาการเด็กสามารถทำได้ง่ายโดยกิจกรรมที่บ้าน ผ่านการเล่น หรือการพูดคุย สื่อสาร หรือกิจกรรมในบ้าน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในแต่ละด้านลดลง

จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าจำนวน 10 คน ลดลงเป็น 5 คน

10.00 5.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการส่งเสริมและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัย

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง (N=51) มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัย

76.47 9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 51
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคลร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า

ชื่อกิจกรรม
1.การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคลร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ (โรงเรียนพ่อแม่) เด็กกลุ่มเสียงสงสัยพัฒนาการล่าช้า มีค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 * 2เมตร ตรม.ละ 150จำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 450บาท
  • ค่าวิทยากร (ระหว่าง ก.ค - ส.ค 2564จัดอาทิตย์ละ 1 ครั้งๆละ 1 ชั่วโมง ) กำหนดจัดจำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท ) เป็นเงิน2,400บาท
  • ชุดอุปกรณ์สาธิต(ท่อน้ำของเล่นเสริมพัฒนาการ) จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 3,800 บาท เป็นเงิน3,800 บาท
  • ชุดอุปกรณ์สาธิต(ทางเดินพลาสติก ,ฝึกการทรงตัวฝึกกายภาพ) จำนวน1 ชุด ๆละ 9,500บาท เป็นเงิน9,500 บาท
  • ชุดฝึกกระตุ้นพัฒนาการทางสมอง สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปีจำนวน 2ชุด ๆละ4,000 บาท เป็นเงิน8,000บาท
  • ชุดฝึกกระตุ้นพัฒนาการทางสมอง ด้านการอ่านจำนวน1ชุด ๆ ละ1,800บาท เป็นเงิน 1,800บาท
  • ชุดฝึกกระตุ้นพัฒนาการการทางสมอง ชุดหนังสือภาพ จำนวน 1ชุด ๆ ละ2,000บาท เป็นเงิน 2,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 10 คน ได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการ ทำให้เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ลดลง จาก 10 คน เหลือ5 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27950.00

กิจกรรมที่ 2 1.การพัฒนาศักยภาพและทักษะของผู้ปกครองให้มีเกี่ยวทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
1.การพัฒนาศักยภาพและทักษะของผู้ปกครองให้มีเกี่ยวทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามวัย

  • ค่าเอกสารใช้เพื่อคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยสำหรับครู จำนวน 51 ชุดๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,060 บาท

  • ค่าวิทยากรอบรมให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 51 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,275บาท

  • ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มรายงานโครงการ จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 335 บาท เป็นเงิน 335บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ครูได้คัดกรองประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 51 คน เพื่อใช้ในการส่งเสริม กระตุ้น ติดตาม และส่งต่อ

2.เพื่อให้ผู้ปกครองจำนวน 51 คน มีความรู้และทักษะในการดูแลส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาเด็กปฐมวัย

3.เพื่อจัดเก็บข้อมูลและเฝ้าติดตามพัฒนาการเด็กหลังจากการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6470.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,420.00 บาท

หมายเหตุ :
1.จำนวนผู้ปกครองทั้งสิ้น 51 คน
2.จำนวนเด็กทั้งสิ้น 51 คน
3.จำนวนผู้ปกครองของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า10คน
4.ครู จำนวน 5 คนต่อเด็กพัฒนาการล่าช้า 2 คน 1

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.จำนวนเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการดูแล ส่งเสริม และกระตุ้น ร่วมกับผู้ปกครอง ครูและเจ้าหน้าที่ และจำนวนลดลง จาก10 คนเหลือ 5 คน
2.เด็กทุกคนได้รับการคัดกรอง เฝ้าระวัง ส่งเสริม กระตุ้น และติดตามประเมินพัฒนาการ
3.ผู้ปกครองความรู้และมีทักษะในการดูแลส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาเด็กปฐมวัย ร้อยละ80


>