กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.เติมยาให้ผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้านโดยใช้ถุงผ้า ลดเสี่ยง ปลอดโรค COVID ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางสาวอารีย์ พูลสมบัติ โทร.0803988320
2.นางสังข์เวียน ยูงทอง
3.นางเพลินพิศขุนเศรษฐ
4.นางยุพิน ชิตสุข
5.นางชฎาภรณ์ คงพลับ

ม.4,6,8 และ 9 ต.มะกอกเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีโอกาสติดเชื้อโควิดน้อย

 

205.00

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,ไขมัน และโรคหลอดเลือดสมอง ที่ต้องเดินทางไปตรวจรักษาที่หน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น โรงพยาบาลควนขนุน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ไม่สามารถไปรับยาด้วยตนเองได้ เพราะการเดินทางไปตรวจรักษาจะเพิ่มความแออัดของคนไข้หลายกลุ่มโรค อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทำให้เสี่ยงต่อเกิดติดเชื้อไวัสโคโรนา 2019 ได้ง่ายขึ้น จากปัญหาข้างต้น เห็นว่าเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรับประทานยาที่ไม่ต่อเนื่อง เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วย คือคนไข้ต้องไม่ขาดยา ได้รับยาตามกำหนดเวลาทั้งในผู้ป่วยที่รับยาเรื้อรังจาก รพ.ควนขนุนและรพ.สต.บ้านดอนศาลา มาตรการ Social Distancing ของกระทรวงสาธารณะสุข โดยเติมยาที่บ้านเพื่อลดความแออัดในการมารับยาในระบบเดิมที่ไม่มีการระบาดช่วง COVID-19ในส่วนของการจัดระบบการรับยาเรื้อรังของ รพ.สต.จะไม่มีแพทย์ออกให้บริการที่ รพ.สต.ตามแผน จึงต้องมีการวางระบบจัดส่งยาให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดย จนท.ร่วมกับ อสม. ช่วยลดความแออัดและเป็นตัวอย่างดีๆ ของการสร้างระบบสุขภาพที่เข้มแข็งในชุมชน สร้างความน่าเชื่อถือในตัว อสม.ในการไปแจกยาให้แก่ชาวบ้านโดยใช้ถุงผ้าลดโลกร้อน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพขึ้นในชุมชน ด้วยการเติมยาเรื้อรังที่บ้านโดยใช้ถุงผ้าลดโลกร้อนร่วมด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบบริการในผู้ป่วย ได้รับยาตามนัดไม่ขาดยาในช่วงโควิด-19

ร้อยละ100 ของผู้ป่วยได้รับยาตามนัดไม่ขาดยาในช่วงโควิด-19 โดยการเติมยาที่บ้านผ่านเจ้าหน้าที่และอสม.

205.00 205.00
2 เพื่อติดตามอาการและภาวะแทรกซ้อนในช่วงโควิดระบาดได้

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยได้รับการติดตามดูแลจากอสม.ในช่วงโควิดระบาด

205.00 205.00
3 เพื่อร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน โดยลดการใช้ถุงพลาสติกในการใส่ยา,เติมยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน

ร้อยละ 100 ผู้รับบริการใช้ถุงผ้าแทนถุงหิ้วพลาสติก

205.00 205.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 205
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานและชี้แจงการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานและชี้แจงการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แก่ตัวแทน อสม,ในวันประชุมชี้แจง จำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวแทน อสม.เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน ผลลัพท์ ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำกระเป๋าเติมยา

ชื่อกิจกรรม
จัดทำกระเป๋าเติมยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จ้างเหมาทำกระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน มีซิปรูด ขนาด 11x14 นิ้ว จำนวน 100 ใบๆละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน จำนวน 100 ใบ ผลลัพธ์ ข้อมูลรายชื่อผู้รับกระเป๋าผ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 นำส่งกระเป๋าผ้าให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมยาที่เติม และลงทะเบียนรายชื่อผู้ที่ได้รับกระเป๋าผ้าเพื่อไว้ติดตามข้อมูลว่าผู้ป่วยได้นำกระเป๋าผ้ามาทุกครั้งหรือไม่ เมื่อมารับบริการครั้งต่อไป

ชื่อกิจกรรม
นำส่งกระเป๋าผ้าให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมยาที่เติม และลงทะเบียนรายชื่อผู้ที่ได้รับกระเป๋าผ้าเพื่อไว้ติดตามข้อมูลว่าผู้ป่วยได้นำกระเป๋าผ้ามาทุกครั้งหรือไม่ เมื่อมารับบริการครั้งต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-นำส่งกระเป๋าผ้าให้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังพร้อมยาที่เติม -ลงทะเบียนรายชื่อผู้ที่ได้รับกระเป๋าผ้าเพื่อไว้ติดตามข้อมูลว่าผู้ป่วยได้นำกระเป๋าผ้ามาทุกครั้งหรือไม่ เมื่อมารับบริการครั้งต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีกระเป๋าใส่ยาลดโลกร้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อสม.ติดตามนำกระเป๋าลดโลกร้อนจากคนไข้เพื่อมาเติมยาเมื่อถึงนัด เป็นการลดการใช้ถุงพลาสติกใส่ยา
  2. จนท.ตรวจสอบยาที่เหลือในแต่ละรอบว่าผู้ป่วยกินยาตามแผนการรักษาหรือไม่ เหลือจำนวนเท่าไหร่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.เติมยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังตามนัด ผลลัพธ์ ผู้ป่วยไม่ขาดยาได้รับยาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนและสรุปโครงการ คืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนและสรุปโครงการ คืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียนและสรุปโครงการ คืนข้อมูล โดยการประชุมคณะทำงาน ชี้แจงปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และจัดทำรูปเล่มรายงาน ค่าใช้จ่าย -ค่าจัดทำเล่มรายงานและอุปกรณ์ เป้นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มรายงาน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้ การประชุมและดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์โควิด 19 เป็นไปตามประกาศจังหวัดพัทลุง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.การบริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน ได้รับยาตามนัดไม่ขาดยาในช่วงโควิด-19 โดยการเติมยาที่บ้าน
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลอาการและภาวะแทรกซ้อนในช่วงโควิดระบาดได้อย่างต่อเนื่อง
3.ช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยลดการใช้ถุงพลาสติกในการใส่ยา,เติมยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน


>