กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ

นายสุรพันธ์หอมแพน
นายอนุชาสีหาเพชร

เขตพื้นที่รพ.สต.บ้านปานเจริญ1. หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน 2.โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ 4 โรงเรียน3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก1แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ื้ พื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ ตำบลเดื่อศรีคันไชย จากสถิติห้าปีย้อนหลัง ในปี 2559 กลับพบผู้ป่วย 6 คน คิดเป็นอัตราการป่วย 91 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2560 กลับพบผู้ป่วย 7 คน คิดเป็นอัตราการป่วย 108 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2561 กลับพบผู้ป่วย 5

 

5.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที
  1. ลดอัตราการป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
3.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,512
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 การเตรียมการ - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ - ให้ความรู้ แผนงานโครงการการดำเนินงานแก่ ทีมควบคุมโรคระดับหมู่บ้าน อสม. ผู้นำชุมชน ID: 14121 ID: 14121 2.2 การจัดกิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนเครือข่ายโดย อสม. และผู้นำชุมชนเวลาเกิดโรค ทางกายภาพ แนะนำ - ปิดปากภาชนะเก็บน้ำด้วยผ้า ตาข่ายไนล่อน อะลูมิเนียม หรือวัสดุอื่นที่สามารถปิดปากภาชนะเก็บน้ำนั้นได้อย่างมิดชิด จนยุงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปวางไข่ได้ - คลุมด้วยมุ้งเขียวหรือผ้าบาง 2 ชั้น - ขัดล้างตุ่มน้ำและภาชนะเก็บน้ำทุกวันศุกร์ - ใส่เกลือแกงหรือน้ำส้มสายชูในจานรองขาตู้กับข้าว - บริเวณที่ปลูกต้นไม้ หากมีต้นไม้เยอะๆ ก็ทำให้มียุงเยอะ เพราะยุงจะชอบเกาะพักอยู่ในที่มืดๆ อับๆ ควรแก้ไขให้ดูโปร่งตาขึ้น ถ้าเป็นต้นไม้ประดับในบริเวณบ้าน ก็ต้องคอยสังเกตุว่ารดน้ำมากไปจนมีน้ำขังอยู่ในจานรองกระถางหรือเปล่า พยายามเทน้ำทิ้งบ่อยๆ - สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงทุกเดือนโดย อสม. ทางชีวภาพ - แนะนำปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด ตามความเหมาะสม ทางเคมี - ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำใช้ไม่มีฝาปิดทุกภาชนะทุก ๓ เดือน โดย อสม.และกรรมการหมู่บ้าน - พ่นหมอกควันเวลาเกิดโรค รัสมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ่นหลังเกิดโรคภายใน 24 ชั่วโมง ครั้งที่ 2 พ่นหลังจากเกิดโรค 7 วัน 2.3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสุ่มลูกน้ำไขว้หมู่บ้านในเดือน พ.ค. - ก.ย. เดือนละ 1 ครั้ง - สุ่มไขว้ ระหว่างหมู่บ้าน ตามโซน ตะวันออก กลาง ตะวันตก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2. ลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก


>