กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอในผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอในผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus disease 2019) หรือโควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยเชื้อสามารถติดต่อผ่านละอองฝอยสู่ทางเดินหายใจ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะอยู่บริเวณเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเซลล์เป้าหมายสำหรับการเพิ่มจำนวนของเชื้อ โดยผู้ติดเชื้อระยะแรกเริ่มมักมีอาการ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก มีไข้ อาจมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยได้ และหากเชื้อลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้เกิดปอดอักเสบและผู้ติดเชื้อมักมีอาการแสดงทางคลินิคที่เห็นได้ชัดคือ รู้สึกหายใจเร็วหายใจลำบาก ซึ่งถือเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง ข้อมูลจากศูนย์โควิด ณ วันที่ 3สิงหาคม 2564 พบว่ายอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 18,901 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 3 สิงหาคม 2564 จำนวน 623,322 ราย ในส่วนของจังหวัดยะลา จาก ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 มีจำนวน 7,634 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 173 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 2,921 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 26 ราย และใน เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 775 ราย เสียชีวิต 11 ราย จากสภาวะการแพร่เชื้อที่รุนแรงจนส่งผลให้เตียงไม่เพียงพอต่อการรักษานั้น จึงต้องมีการจัดการแยกกักตัวที่บ้านหรือ Home Isolation (HI) ขึ้นสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ค่อยมีอาการ หรือผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คืออาจมีหรือไม่มีอาการไข้ ไอเจ็บคอมีน้ำมูก ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส มีผื่น และถ่ายเหลว แต่ไม่มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบาก/หายใจหอบเหนื่อย ปอดไม่อักเสบ และระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96% โดยจะได้รับยาบรรเทาอาการและการติดตามอาการจากบุคลากรทางการแพทย์เป็นระยะอยู่เสมอ ซึ่งการแยกกักตัวที่บ้านนั้น นอกจากจะเป็นการลดความติดขัดของระบบการดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมากและทำให้โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดได้มากยิ่งขึ้นแล้วนั้น ยังช่วยให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม ทำให้ผู้ที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น ลดความรุนแรงของโรคได้ ดังนั้นการแยกกักตัวที่บ้าน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องมีการประเมินอาการของตนเองอยู่เสมอ ทานยาที่ได้รับ และดูแลตนเอง เช่น ดื่มน้ำอุ่น เช็ดตัว พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการล้างและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกและลดการคั่งค้างของเสมหะ
การใช้น้ำเกลือทางการแพทย์นั้นมีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการต้านการติดเชื้อ บรรเทาอาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือจากไวรัส จากการศึกษาพบว่าเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ รวมถึงโคโรน่าไวรัสได้ในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและการกลั้วคอ ภายใน48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการของโรคหวัด (common cold) เทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับน้ำเกลือ โดยให้ผู้เข้าร่วมบันทึกอาการทุกวันจนกว่าจะหายดีเป็นเวลาสองวันหรือสูงสุด 14 วัน พบว่า ผู้ที่ได้รับน้ำเกลือมีระยะเวลาของการเจ็บป่วยลดลง 1.9 วันเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำเกลือ
แม้จะยังมีการถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพของน้ำเกลือต่อโรคติดเชื้อโควิด-19 แต่จากชุดข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการล้างจมูกและการกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออาจมีบทบาทในการลดอาการและระยะเวลาของการเจ็บป่วยใน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และน้ำเกลือเป็นสารที่ปลอดภัย ไม่เกิดการระคายเคืองต่อร่างกาย การใช้เพื่อล้างจมูกและกลั้วคอนั้นสามารถลดการคั่งค้างของเสมหะและน้ำมูกได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ปฏิบัติได้ง่าย ใช้ได้ทุกวัย รวมทั้งมีต้นทุนต่ำ จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้แยกกักตัวที่บ้าน ดังนั้น งานเภสัชกรรม กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอใน ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด – 19 ได้รับน้ำเกลือเพื่อล้างจมูกและกลั้วคอ

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันโดยวิธี  RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด – 19 ได้รับน้ำเกลือเพื่อล้างจมูกและกลั้วคอ

0.00
2 ข้อที่ 2 ผู้ที่ได้รับการยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ล้างจมูกและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือไม่พบว่ามีอาการแสดงทางคลินิค (หายใจหอบเหนื่อย) ที่แย่ลง

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ล้างจมูกและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ไม่พบว่ามีอาการแสดงทางคลินิค (หายใจหอบเหนื่อย)      ที่แย่ลง

0.00
3 ข้อที่ 3 ผู้ที่ได้รับน้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

ข้อที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับน้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อและการกระจายน้ำเกลือในผู้ติดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อและการกระจายน้ำเกลือในผู้ติดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
98800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์การใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอและแจกแบบบันทึกอาการแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์การใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอและแจกแบบบันทึกอาการแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้ ในการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอสำหรับการรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง
2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในสภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างครอบคลุม
3. ลดการเกิดความรุนแรงของโรค การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดการสูญเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19


>