กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอในผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
3.
หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus disease 2019) หรือโควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนา โดยเชื้อสามารถติดต่อผ่านละอองฝอยสู่ทางเดินหายใจ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะอยู่บริเวณเนื้อเยื่อหลังโพรงจมูกและลำคอ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเซลล์เป้าหมายสำหรับการเพิ่มจำนวนของเชื้อ โดยผู้ติดเชื้อระยะแรกเริ่มมักมีอาการ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก มีไข้ อาจมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยได้ และหากเชื้อลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้เกิดปอดอักเสบและผู้ติดเชื้อมักมีอาการแสดงทางคลินิคที่เห็นได้ชัดคือ รู้สึกหายใจเร็วหายใจลำบาก ซึ่งถือเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยในประเทศไทย พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง ข้อมูลจากศูนย์โควิด ณ วันที่ 3สิงหาคม 2564 พบว่ายอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 18,901 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 3 สิงหาคม 2564 จำนวน 623,322 ราย ในส่วนของจังหวัดยะลา จาก ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 มีจำนวน 7,634 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 173 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 2,921 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 26 ราย และใน เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 775 ราย เสียชีวิต 11 ราย จากสภาวะการแพร่เชื้อที่รุนแรงจนส่งผลให้เตียงไม่เพียงพอต่อการรักษานั้น จึงต้องมีการจัดการแยกกักตัวที่บ้านหรือ Home Isolation (HI) ขึ้นสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ค่อยมีอาการ หรือผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว คืออาจมีหรือไม่มีอาการไข้ ไอเจ็บคอมีน้ำมูก ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส มีผื่น และถ่ายเหลว แต่ไม่มีอาการหายใจเร็วหายใจลำบาก/หายใจหอบเหนื่อย ปอดไม่อักเสบ และระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96% โดยจะได้รับยาบรรเทาอาการและการติดตามอาการจากบุคลากรทางการแพทย์เป็นระยะอยู่เสมอ ซึ่งการแยกกักตัวที่บ้านนั้น นอกจากจะเป็นการลดความติดขัดของระบบการดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีจำนวนมากและทำให้โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดได้มากยิ่งขึ้นแล้วนั้น ยังช่วยให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อเพิ่ม ทำให้ผู้ที่เพิ่งตรวจพบเชื้อได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น ลดความรุนแรงของโรคได้ ดังนั้นการแยกกักตัวที่บ้าน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องมีการประเมินอาการของตนเองอยู่เสมอ ทานยาที่ได้รับ และดูแลตนเอง เช่น ดื่มน้ำอุ่น เช็ดตัว พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการล้างและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกและลดการคั่งค้างของเสมหะ การใช้น้ำเกลือทางการแพทย์นั้นมีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการต้านการติดเชื้อ บรรเทาอาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือจากไวรัส จากการศึกษาพบว่าเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ รวมถึงโคโรน่าไวรัสได้ในหลอดทดลอง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและการกลั้วคอ ภายใน48 ชั่วโมงหลังเริ่มมีอาการของโรคหวัด (common cold) เทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับน้ำเกลือ โดยให้ผู้เข้าร่วมบันทึกอาการทุกวันจนกว่าจะหายดีเป็นเวลาสองวันหรือสูงสุด 14 วัน พบว่า ผู้ที่ได้รับน้ำเกลือมีระยะเวลาของการเจ็บป่วยลดลง 1.9 วันเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำเกลือ แม้จะยังมีการถกเถียงกันถึงประสิทธิภาพของน้ำเกลือต่อโรคติดเชื้อโควิด-19 แต่จากชุดข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าการล้างจมูกและการกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออาจมีบทบาทในการลดอาการและระยะเวลาของการเจ็บป่วยใน ผู้ติดเชื้อโควิด-19 และน้ำเกลือเป็นสารที่ปลอดภัย ไม่เกิดการระคายเคืองต่อร่างกาย การใช้เพื่อล้างจมูกและกลั้วคอนั้นสามารถลดการคั่งค้างของเสมหะและน้ำมูกได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ปฏิบัติได้ง่าย ใช้ได้ทุกวัย รวมทั้งมีต้นทุนต่ำ จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้แยกกักตัวที่บ้าน ดังนั้น งานเภสัชกรรม กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอใน ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด – 19 ได้รับน้ำเกลือเพื่อล้างจมูกและกลั้วคอ
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด – 19 ได้รับน้ำเกลือเพื่อล้างจมูกและกลั้วคอ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ข้อที่ 2 ผู้ที่ได้รับการยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ล้างจมูกและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือไม่พบว่ามีอาการแสดงทางคลินิค (หายใจหอบเหนื่อย) ที่แย่ลง
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการยืนยันโดยวิธี RT-PCR ว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ที่ล้างจมูกและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ ไม่พบว่ามีอาการแสดงทางคลินิค (หายใจหอบเหนื่อย) ที่แย่ลง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ข้อที่ 3 ผู้ที่ได้รับน้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับน้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อและการกระจายน้ำเกลือในผู้ติดเชื้อโควิด-19
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 98,800.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์การใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอและแจกแบบบันทึกอาการแก่ผู้ติดเชื้อโควิด-19
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 1,200.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง
    รายละเอียด

     

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 100,000.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนได้รับความรู้ ในการใช้น้ำเกลือล้างจมูกและกลั้วคอสำหรับการรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง
  2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในสภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างครอบคลุม
  3. ลดการเกิดความรุนแรงของโรค การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดการสูญเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 100,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................