กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 เชิงรุก และคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจ antigen test kit (ATK)ตำบลบางตาวา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 เชิงรุก และคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจ antigen test kit (ATK)ตำบลบางตาวา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา

ตำบลบางตาวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลบางตาวา ตั้งแต่กุมภาพันธ์-ปัจจุบัน

 

89.00
2 จำนวนผู้้สียชีวิตจ่ากโควิด-19 ในพื้นที่ตำบลบางตาวา ตั้งแต่กุมภาพันธ์-ปัจจุบัน

 

5.00

จากรายงานสถานการณ์ของจังหวัดปัตตานี ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น.พบ ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 99 รายผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 14,588 รายผู้ป่วยหายแล้ว 10,836 รายและมีผู้เสียชีวิตสะสม 213 ราย ในอำเภอหนองจิก มีผู้ป่วยสะสมจำนวน1,832 อยู่ระหว่างรักษา 381 คน สำหรับตำบลบางตาวา พบผู้ป่วยทั้งสิ้น84 รายและมีผู้เสียชีวิต จำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นการสัมผัสจากสถานบริการร้านอาหารในเครือญาติและโรงงาน และจากการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ต้องใช้ความร่วมมือในหลายภาคส่วนในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง และได้ส่งผลกระทบในวงกว้างอย่างรวดเร็วแม้ว่าจะใช้มาตรการป้องกันการควบคุมโรคหลายมาตรการ เช่นการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคกักตัวผู้มีความเสี่ยง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล สวมหน้ากากอนามัย งดจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม ทำความสะอาดพื้นที่และพื้นผิวสัมผัสร่วม แต่สิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนในขณะนี้คือ วัคซีนป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเรียกสั้นๆว่า วัคซีนโควิด 19 นั้น ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการใช้วัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึงได้มีการบริหารจัดการวัคซีนโดยเป้าหมายระยะแรกคือบุคลากรทางการแพทย์และประชากรกลุ่มเสี่ยงสูง โดยมีการดำเนินการตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์2564ซึ่งได้ดำเนินการใน 13 จังหวัดที่มีความเสี่ยงสูง และจะดำเนินการให้ครอบคลุ่มกลุ่มเป้าหมาย กลุ่ม ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่
ตามหนังสือ ที่ว่าการอำเภอหนองจิก เรื่อง แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรค COVID – 19 เชิงรุก ของอำเภอหนองจิก ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2564 แจ้งว่า อำเภอหนองจิก ได้จัดทำแผนการให้บริหารวัคซีนป้องกันโรค COVID – 19 เชิงรุกในหมู่บ้านและชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกและการเข้าถึงวัคซีนให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป ที่ไม่สะดวกในการมารับบริการฉีดวัคซีน ณ หน่วยบริการโรงพยาบาลหนองจิก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยทางอำเภอหนองจิกได้ขอความร่วมมือจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งในการจัดเตรียมสถานที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ผู้มารับบริการในวัน เวลา และสถานที่ที่ระบุไว้ตามแผนงานที่แนบมาด้วยนี้ โดยในวันที่ 24 สิงหาคม2564 องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาบูรณาการร่วมกับอำเภอหนองขิก,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวาและปกครองในพื้นที่ ได้กำหนดจัดกิจกรรมฉีดวัคซีนเชิงรุกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่อายุ 18 -59 ปี,กลุ่ม 7กลุ่มโรคและกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่ามีผู้ที่สนใจและฉีดวัคซีนจำนวน 184 คน กลุ่มเสี่ยงที่ไม่สามารถฉีดได้ 10คน และกลุ่มที่ฉีดได้ 174 คนประกอบด้วย(กลุ่มอายุ 18-59 ปี 163 คน ,กลุ่ม7 โรค 1 คนและผู้สูงอายุ10 คน) ซึ่งถือว่าน้อยเนื่องจากคิดเป็นร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายทางอำเภอหนองจิกที่จัดสรรวัคซีนจำนวน 500คน ดังนั้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกที่โรงเรียนวัดสถิตย์และโรงพยาบาลหนองจิกแล้วรับได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2เข็ม องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาบูรณาการ่วมกับอำเภอหนองจิกและสาธารณสุขอำเภอหนองจิกรพ.สต.บางตาวา จึงจัดโครงการส่งเสริมการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด - 19 เชิงรุก และคัดกรองเชิงรุกด้วยชุดตรวจ antigen test kit (ATK)ตำบลบางตาวา เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงและคัดกรองกลุ่มกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกด้วยด้วยชุดตรวจ antigen test kit (ATK) ที่ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดและฉีดวัคซีนเพื่อลความรุนแรงและการเสียชีวิตด้วยโรคโควิ-19 ในพื้นที่ตำบลบางตาวา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

174.00 174.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน

ร้อยละ100 กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน

374.00 374.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยที่รุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต

ร้อยละ 50 สามารถลดอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรงและสามารถลดอัตราการเสียชีวิต

10.00 5.00
4 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเชิงรุกในพื้นที่

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับคัดกรองเชิงรุกด้วยชุตรวจ ATK

231.00 231.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 611
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/09/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ชี้แจงแกนนำสุขภาพเกี่ยวกับเกี่ยวกับกระบวนการติดตามการฉีดวัคซีนจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 25 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ชี้แจงแกนนำสุขภาพเกี่ยวกับเกี่ยวกับกระบวนการติดตามการฉีดวัคซีนจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่1  วันที่ 13  กันยายน  2564 - ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำสุขภาพ(อสม)           จำนวน  25 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ  75  บาท  1,875บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อๆละ 35 บาทจำนวน 25คน รวมเงิน 1,750 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 5ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็น เงิน 3,000 รุ่นที่2  วันที่ 14  กันยายน  2564 - ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำสุขภาพ(อสม)           จำนวน  25 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ  75  บาท  1,875บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อๆละ 35 บาทจำนวน 25คน รวมเงิน 1,750 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน 5ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็น เงิน 3,000 รวมเป็นเงิน  13,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กันยายน 2564 ถึง 14 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1มีกระบวนการติดตามในกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเขน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฉีดวัคซีนเชิงรุกเข็ม 2 ตามกลุ่มเป้าหมายที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฉีดวัคซีนเชิงรุกเข็ม 2 ตามกลุ่มเป้าหมายที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม เจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่อบต จำนวน  100 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ  50  บาท  5,000 บาท
  • ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้มาฉีดวัคซีนจำนวน 34 แพ็ค แพ็คละ45 บาท เป็นเงิน  1,530  บาท   -
  • ค่าเช่าเต็นท์จำนวน 3 หลังหลังละ 600  บาท
    เป็นเงิน 1,800บาท
    รวมเป็นเงิน 8,330บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กันยายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีวัคซีนที่ที่ปลอภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8330.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจคัดกรองเชิงรุกประชาชนในกลุ่มเสี่ยงม .1 จำนวน ครั้ง -ครั้งที่ 1 วันที่ 10 กันยายน 2564 77 คน -ครั้งที่ 2 วันที่ 15 กันยายน 2564 77 คน -ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กันยายน 2564 77 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองเชิงรุกประชาชนในกลุ่มเสี่ยงม .1 จำนวน ครั้ง -ครั้งที่ 1 วันที่ 10 กันยายน 2564 77 คน -ครั้งที่ 2 วันที่ 15 กันยายน 2564 77 คน -ครั้งที่ 3 วันที่ 23 กันยายน 2564 77 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม เจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ทหาร จำนวน  50 คน จำนวน 1 มื้อ มื้อละ  50  บาท
    (เป็นเงิน 2,500 บาทx3 รอบ)  รวมเป็นเงิน 7,500 บาท -ค่าน้ำดื่มสำหรับผู้มาฉีดวัคซีนจำนวน 7 แพ็ค แพ็คละ45 บาท (เป็นเงิน  315  บาท  x3 รอบ)    รวมเป็นเงิน  945  บาท
  • ค่าเช่าเต็นท์จำนวน 4 หลังหลังละ 600  บาท
    (เป็นเงิน 2,400บาท  x3 รอบ)    รวมเป็นเงิน  7,200  บาท รวมเป็นเงิน 15,645บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15645.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามอาการและให้คำแนะนำหลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามอาการและให้คำแนะนำหลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติตตามกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการฉีดวัคซีนและตรวจคัดกรองเชิงรุก ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม
2. กลุ่มเป้าหมายได้รับการฉีดวัคซีนอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการได้รับวัคซีน
3. อัตราการป่วยที่รุนแรงและอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ลดลง
4. กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มเสี่ยงสัมผัสคนติดเชื้อในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรอง


>