กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
กลุ่มคน
1.นางสำลี ลัคนาวงศ์
2.นายสุพงศ์แสนประทีปรัศมี
3.นางลำดวน หัวแท้
4.นายสมหมาย หลังเถาะ ผู้ประสานงาน คนที่ 1(081-0939976)
5.นางสาวณัติญา เฉลิมผู้ประสานงาน คนที่ 2(086-9654640)
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันผู้สูงอายุติดเตียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงติดเตียงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการนอนติดเตียงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาหลายประการ เช่น แผลกดทับ ภาวะขาดอาหารรุนแรง การติดเชื้อรุนแรงในระบบทางเดินหายใจและในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น ดังนั้นการที่จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ ต้องมีผู้ดูแลที่มีความรู้และทักษะในการดูแลอย่างใกล้ชิด

องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีประชากรทั้งหมด 13,977 ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี มีจำนวน 1,682 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลมากกว่า 11 คะแนน จำนวน 1,632 คน คิดเป็นร้อยละ 97 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 3 มีผู้พิการทั้งหมด 371 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล พบว่าผู้พิการที่มีคะแนนเอดีแอล มากกว่า 11 คะแนน จำนวน 315 คน คิดเป็นร้อยละ 85 และมีคะแนนเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่เป็นผู้พิการ จำนวน 46 คน ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด 56 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ของผู้สูงอายุและผู้พิการทั้งหมดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงโดยผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ ๑ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีปัญหาการกิน/ การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสน) จำนวน 29 คนคิดเป็นร้อยละ 51.8 กลุ่มที่ ๒ (เคลื่อนไหวได้บ้างมีภาวะสับสน และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่าย) จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 กลุ่มที่ ๓ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน/การขับถ่ายหรือเจ็บป่วยรุนแรง) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 17.8 และกลุ่มที่ ๔ (เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต) จำนวน 0 คน ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงส่วนใหญ่มีพยาธิสภาพของโรคที่ทำให้เกิดความพิการ การจำกัดความสามารถ ในการทำกิจกรรมของตนเอง หรือมีอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต ผู้ป่วยกลุ่มนี้ย่อมมีความต้องการด้านต่างๆ เพื่อให้การดูแลสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรคและวัสดุอื่นๆที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน หากผู้ป่วยได้รับการตอบสนองความต้องการในการดูแลผู้ป่วยที่ดี ย่อมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้ และผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีผู้ดูแลที่มีความรู้และทักษะในการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน ให้สามารถปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายเพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการทำกิจกรรมให้สูงที่สุดเท่าที่ศักยภาพของผู้ป่วยจะเอื้ออำนวยและให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงและพบว่า ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง(ติดบ้าน ติดเตียง) ไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลที่มีความรู้และมีทักษะในการดูแลที่ถูกต้อง และขาดวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆที่มีความจำเป็นในการใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและมีความจำเป็นในการฟื้นฟูสมรรถภาพขอองร่างกายและลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ รถเข็นชนิดนั่ง จำนวน 4 ชิ้น ไม้เท้าอลูมีเนียมแบบ 3 ขา จำนวน 4 ชิ้น ไม้เท้าช่วยเดินชนิด 4 ขา จำนวน 3 ชิ้น ที่นอนลม จำนวน 3 ชิ้น ถังออกซิเจนพร้อมอุปกรณ์ครบชุด จำนวน 2 ชุด เครื่องดูดเสมหะ จำนวน 2 ชุด ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงได้รับการคัดกรอง ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและได้มีวัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง และได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง (ผู้ป่วยติดเตียง)
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว 2. ร้อยละ 90 ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง 3. ร้อยละ 80 สามารถป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและดูแล ฟื้นฟูภาวะแทรกซ้อนให้หายเป็นปกติ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และผู้พิการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ปีละ 1 ครั้ง

    2. ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล

    3. สรุปข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

    กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง

    กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง

    กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง

    กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต


    เป้าหมาย

    • ผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

    • ผู้พิการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

    งบประมาณ

    • ไม่ขอใช้งบประมาณ
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 1 เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2. บรรยาย/สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ช่วยเหลือตัวเองได้และนอนติดเตียง

    เป้าหมาย

    • ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 1 จำนวน 29 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 35 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 2,275 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 35 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

    • ค่าป้ายไวนิล โครงการขนาด 1.5 x 3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม 2,000 บาท

    • ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 29 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,450 บาท

    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 29 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท

    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 15,050 บาท

    งบประมาณ 15,050.00 บาท
  • 3. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 2 และ 3 เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2. บรรยาย/สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ช่วยเหลือตัวเองได้และนอนติดเตียง

    เป้าหมาย

    • ญาติ ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มที่ 2 จำนวน 17 คน และกลุ่มที่ 3 จำนวน 10 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 33 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 2,145 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 33 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท

    • ค่าป้ายไวนิล โครงการขนาด 1.5 x 3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม 2,000 บาท

    • ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 27 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท

    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 27 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 14,520 บาท

    งบประมาณ 14,520.00 บาท
  • 4. การให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) ปรึกษาปัญหารายกรณีกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง (care conference) และลงเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อให้บริการด้านสาธารณสุข อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

    2) ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM )จัดแบ่งผู้สูงอายุให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) แต่ละคนรับผิดชอบดูแล พร้อมจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP)รายสัปดาห์ และตารางการปฏิบัติงานมอบหมายให้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )1 คน ดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงไม่เกิน 6 คนต่อวัน วันละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

    โดย กลุ่มที่ 1 ให้บริการอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

    กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    กลุ่มที่ 3 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    กลุ่มที่ 2 ให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

    3) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขเบื้องต้น การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การจัดการสภาพแวดล้อม/บ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ญาติและผู้ดูแล ตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP) และประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง

    4) ประเมินความเสี่ยงประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง หากพบว่า ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงเกิดภาวะแทรกซ้อน ให้แจ้งผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้าน7สาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) เพื่อทำหน้าที่ประสานงานแก่ทีมสหวิชาชีพในการดูแลอย่างถูกต้อง หรือรับ-ส่งต่อโรงพยาบาล
    5) ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) บันทึกผลการเยี่ยมและการให้บริการสาธารณสุขตามแบบบันทึกการปฏิบัติงาน
    6) ศูนย์จัดหาวัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้แก่ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan; CP)
    7) จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทนผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน
    8) จัดตั้งคณะทำงาน ทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง

    9) มีการจัดบริการสาธารณสุขสาธารณสุขที่บ้าน โดยให้ทีมหสวิชาชีพ

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 11 คน

    • ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 56 ราย

    • เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงและผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข ( Care Manager ; CM ) จำนวน 5 คน

    • คณะทำงานติดตามผลการปฏิบัติงาน การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 5 คน

    งบประมาณ

    • จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ให้แก่ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ญาติและผู้ดูแล ดังนี้
      • เจลแอลกอฮอล์ 75 %จำนวน 50 ขวด ขวดละ 200 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
      • หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 50 กล่อง กล่องละ 125 บาท เป็นเงิน 6,250 บาท
      • จ้างเหมาบริการหรือจ่ายค่าตอบแทน CG จ่ายค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาหรือค่าเบี้ยเลี้ยงแก่ CM และหรือบุคลากรสาธารณสุขที่มาช่วยปฏิบัติงาน
        (ไม่เบิกจ่ายในโครงการ)
    • ค่ารถเข็นชนิดนั่ง จำนวน 4 ชิ้น ราคาชิ้นละ 6,900 บาท(ตามราคามาตรฐานครุภัณฑ์) เป็นเงิน 27,600 บาท
    • ไม้เท้าอลูมีเนียมแบบ 3 ขา 4 ชิ้น ชิ้นละ 600 บาท ( ราคาตามประกาศของกระทรวงการคลัง ) เป็นเงิน 2,400 บาท
    • เครื่องช่วยเดินชนิด 4ขา 3 ชิ้น ชิ้นละ 600 บาท ( ราคาตามประกาศของกระทรวงการคลัง ) เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าที่นอนลม ราคาชิ้นละ 10,000 บาท(ตามราคาท้องตลาด) จำนวน 3 ชิ้น เป็นเงิน 30,000 บาท
    • ถังออกซิเจน พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 2 ชุด ชุดละ 10,000 บาท (ราคาท้องตลาด) เป็นเงิน 20,000 บาท
    • เครื่องดูดเสมหะ ราคาชิ้นละ 11,000บาท จำนวน 2 ชิ้น เป็นเงิน 22,000 บาท (ตามราคามาตรฐานครุภัณฑ์)

    รวมเป็นเงิน 120,050 บาท

    งบประมาณ 120,050.00 บาท
  • 5. กิจกรรมประชุมติดตามผลการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยคณะทำงานติดตามผลการปฏิบัติงาน การดูแลผู้สูงอายุ/ ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. จัดตั้งคณะทำงาน ทำหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG )ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงทุก 3 เดือน และรายผลการติดตามแก่ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 11 คน
    • เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงและผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข
      ( Care Manager ; CM ) จำนวน 5 คน
    • คณะทำงานติดตามผลการปฏิบัติงาน การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 5 คน
      งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนคณะทำงานติดตามผลการปฏิบัติงานของ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ จำนวน 10 คนๆละ 4 ครั้ง ครั้งละ 200 บาทเป็นเงิน 8,000 บาท

    • ค่ายานพาหนะในการเดินทางสำหรับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 11 คนๆละ 4 ครั้งๆละ100 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานติดตามผลการปฏิบัติงานของ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบศูนย์ฯ, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้สังเกตุการณ์ จำนวน 26 คน คนละ 4 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท

    รวมเป็นเงิน 16,000 บาท

    งบประมาณ 16,000.00 บาท
  • 6. อบรมฟื้นฟูความรู้แก่ของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2.บรรยาย/สาธิต ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ช่วยเหลือตัวเองได้และนอนติดเตียง

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 11 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 17 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 1,105 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 17 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 850 บาท
    • ค่าป้ายไวนิล โครงการขนาด 1.5 x 3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม 2,000 บาท
    • ค่าจัดทำคู่มือประกอบการอบรม จำนวน 11 เล่มๆละ 50 บาท เป็นเงิน 550 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 11 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน10,280 บาท

    งบประมาณ 10,280.00 บาท
  • 7. การฝึกทักษะการดูแล การประเมินผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.ประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม เรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

    2.ฝึกทักษะการดูแล การประเมินผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

    เป้าหมาย

    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 11 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 17 คน คนละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 1,105 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 17 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 850 บาท
    • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 11 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงาน จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน7,055 บาท

    งบประมาณ 7,055.00 บาท
  • 8. ประชุม/ติดตามผล
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1)ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ องค์การบริการส่วนตำบลกำแพง ติดตามผลการดำเนินโครงการ ทุก 6 เดือน

    2)ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) รายงานผลการปฏิบัติงานเดือนละ 1 ครั้ง
    3)คณะกรรมการสุ่มประเมินผลการทำงานของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ( Caregiver ; CG ) ทุก 2 เดือน

    เป้าหมาย

    • คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ จำนวน 15คน
    • ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุจำนวน11คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จำวน 26 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,300 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 26 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 10,400 บาท
    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 12,700 บาท

    งบประมาณ 12,700.00 บาท
  • 9. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1) จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
    2) จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าตอบแทนคณะทำงานในการนำเสนอโครงการ (ไม่ขอเบิกจ่ายในโครงการ)

    รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 17 กันยายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2565

8.
สถานที่ดำเนินการ

ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 196,655.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้สูงอายุ/ผู้พิการ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้รับการสำรวจ และประเมินความสามารถในดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index)
  2. ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้รับการดูแลโดยผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) และทีมวิชาชีพ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ปลอดภัย และได้มาตรฐาน
  3. ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและเกิดแผลกดทับจากการนอนติดเตียง
  4. ผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีสุขภาพดีขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 196,655.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................