กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง

นางประทีป มณี (หัวหน้าสถานศึกษา)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง หมู่ที่ 4 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูง ไม๋ถึงเกณฑ์(ผอม)

 

26.70
2 ร้อยละของนักเรียนที่มี น้ำหนัก เกินเกณฑ์ (อ้วน)

 

5.00

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปราง มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 60 คน มีนักเรียนที่มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ภาวะโภชนาการ จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 68.33 นักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ภาวะโภนาการ(ผอม) จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์
  1. จำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่ถึงเกณฑ์ลดลง 10 คน (จากจำนวน16 คน)
26.70 10.01
2 2. เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์(อ้วน)จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5
  1. จำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์(อ้วน)ลดลง 1 คน ( จากจำนวน 3 คน )
5.00 3.33

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 19
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ท่ีเกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ท่ีเกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องโภชนาการของเด็กเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานโภชนาการและแก้ปัญหาในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชม.ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 500 บาท(ผู้ปกครอง 19 คน ครูและผู้ท่ีเกี่ยวข้อง 6 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • -ผู้ปกครอง คุณครู และผู้ท่ีเกี่ยวข้องได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์(ผอม) และเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้้้ออาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้้้ออาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้ออาหารเสริมสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 ชุด ราคาชุดละ 1,000 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต

  • นักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน ได้รับประทานอาหารเสริม

  • นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 16 คน มีภาวะทุพโภชนาการลดลง ร้อยละ 16.70 (จำนวน 10 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กทีี่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กทีี่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียนท่ีมีภาวะทุพโภชนาการจำนวน19 คน(ผอม,อ้วน) โดยจัดกิจกรรมดังนี้เคลื่อนไหวตามจังหวะเสียงเพลงสันทนาการ ฮูลาฮูปกรีฑา กีฬาพื้นบ้าน ฯลฯ อย่างน้อย1 ชั่วโมง/วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนท่ีมีภาวะทุพโภชนาการมีกิจกรรมทางกายท่ีเพียงพอ

เด็กที่มีน้ำหนักตำ่กว่าเกณฑ์( ผอม) ลดลง ร้อยละ 16.70(ลดลง 10 คน จากจำนวน 16 คน)

เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์(อ้วน) ลดลง ร้อยละ 1.67(ลดลง 1 คน จากจำนวน 3 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้บันทึกน้ำหนักส่วนสูงของนักเรียนท่ีมีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้บันทึกน้ำหนักส่วนสูงของนักเรียนท่ีมีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียน จำนวน 2 ครั้ง พร้อมบันทึกรายละเอียด ( ครั้งที่ 1 วันที่ 1 สิงหาคม 2565 , ครั้ง 2 วันที่ 1 ธันวาคม 2565)

2 ครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 2 ครั้ง(ครั้งที่ 1 วันที่ 2ส ค. 2565 , ครั้งที่ 2 วันที่ 2ธ ค. 2565) โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 500 บาท(ผู้ปกครอง 19 คน ครูและผู้ท่ีเกี่ยวข้อง 6 คน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กันยายน 2565 ถึง 26 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนท่ีมีภาวะทุพโภชนาการลดลง จำนวน 10 คน (จากจำนวน 16 คน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปรางมีจำนวนลดลง

-ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการแก้ปัญหาภาวะทางโภชนาการเด็ก


>