กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านกาหยี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงเรียนบ้านกาหยี

1. นางสาวมนัสวีมณีสวัสดิ์
2. นางสาวเจะรุสนันปาโห๊ะ
3. นางแวฮามีดะห์ โตะแม
4. นายมะเปาซี โตะแม
5. นางยาวีหยะ สามะ

บริเวณหลังโรงอาหาร โรงเรียนบ้านกาหยี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ชอบรับประทานผัก

 

50.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากการไม่เห็นคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์

 

30.00
3 ร้อยละพื้นที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

20.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ในสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้การบริโภคพืชผักถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์ เพราะพืชผักเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และกากใย อีกทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยในการเกิดโรค ต่างๆ จึงทำให้ความนิยมในการบริโภคผักมีมากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะพืชผักส่วน ใหญ่ที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป พบว่ามีสารพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาสนใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งเชื้อโรคต่างๆที่ปนเปื้อนมากับการปลูกพืชบนดิน โดยหันมาบริโภคผักปลอดสารพิษซึ่งในปัจจุบันการผลิตผักปลอดสารพิษมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การปลูกผัก แบบเกษตรอินทรีย์ การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักไร้ดิน (Hydroponics)ฯลฯ แต่การปลูกพืชบนดินมักมีปัญหาเกี่ยวกับโรค และแมลงในดิน รวมทั้งการจัดการปุ๋ยและระบบน้ำทำได้ยาก ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือการปลูกพืชไร้ดินนั้นเป็นการปลูกพืชที่เลียนแบบธรรมชาติ โดยการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร (Hydroponics) หรือ ปลูกลงในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน (soilless culture) ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าพืชต้องได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตผ่านระบบรากพืชพร้อมกับได้รับออกซิเจน และแสงแดดเพียงพอต่อการเจริญเติบโตทำให้พืชที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินมีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรมเพราะสามารถใช้สารละลายธาตุอาหารและน้ำที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผักไฮโดรโปนิกส์เป็นพืชผักที่ปลูกง่ายและประหยัดพื้นที่ ผักไฮโดรโปนิกส์ประเภทผักสลัดนั้นมีประโยชน์มากมายสามารถบริโภคได้ตั้งแต่เด็กยันผู้สูงอายุ สามารถทานได้เพื่อสุขภาพและเพื่อการบริโภคต่างๆ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การเกษตรสามารถก้าวไกลไปได้อีกอีกทั้งยังสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่ที่กว้างขวางมากนัก
โรงเรียนบ้านกาหยีมีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 30 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โรงเรียนจึงตระหนักและเห็นความสำคัญของสารอาหารที่นักเรียนควรจะได้รับ จึงได้จัดทำโครงการผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
95.00 95.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  1. ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
95.00 74.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันและนักเรียนได้สารอาหารที่เพียงพอจากผลผลิตของโรงเรียน
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันจากผลผลิตโครงการผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีสารอาหารที่เพียงพอ
95.00 95.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

95.00 74.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ผักวิเศษ

ชื่อกิจกรรม
1. ผักวิเศษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมเชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิกส์มีค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าวิทยากร บรรยายให้ความรู้และสาธิต จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 400 บ. 1 คน =2,000 บาท -ค่าอาหารว่างวิทยากรและนักเรียนจำนวน 25 บ.x 2 มื้อ 96 คน =4,800 บ. รวม  6,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ความรู้เกี่ยวกับการปลูปผักผักไฮโดรโปนิกส์ /นักเรียนเรียนรู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 2 2.หนูทำได้

ชื่อกิจกรรม
2.หนูทำได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม -  เตรียมสถานที่และวัสดุ อุปกรณ์สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ -  จัดทำรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ -ค่าชุดรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1.  รางปลูกผักแบบเปิด 8 ราง เส้นละ 390 = 3,120 บาท 2.  ฝาปิดราง 8 ฝาๆละ 10 บาท= 80 บาท 3.  ตัวล๊อคราง 40 อันๆละ 10 บาท= 400 บาท 4.  รางรวมน้ำ  1.6 m= 450 บาท 5.  ชุดจ่ายน้ำเข้าหัวราง ท่อส่งน้ำและสายยางต่อเข้าปั๊ม =300 บ. 6.  ปั๊มน้ำ Sonic AP2500=300 7.  กระถางปลูก 5 แผ่น ๆละ 30 บาท= 150 บาท 8.  ฟองน้ำเพาะเมล็ด 2 ชุดๆละ200= 400 บาท 9.  ถาดรองน้ำสี่เหลี่ยมสำหรับเพาะเมล็ด 4อันๆละ 140=560บาท 10. ธาตุอาหาร A+B  3ชุดๆละ 400=1,200 บาท 11.  เมล็ดพันธุ์พืช  540   บาท
รวม 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 29 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีสถานที่ทำการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ / นักเรียนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
3.ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำไวนิล   เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้กับชุมชน -ค่าไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด
1.50 x 2.40 ม.(ต.ร.ม.ละ 150 บาท)          รวม  540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไวนิลโครงการ /  ชุมชนได้รับรู้การทำกิจกรรมโครงการผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพของโรงเรียนบ้านกาหยี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
540.00

กิจกรรมที่ 4 มื้อนี้เพื่อหนู

ชื่อกิจกรรม
มื้อนี้เพื่อหนู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำเมนูสลัดผัก สลัดโรล ผัดผัก สุกี้ยำผักสลัด ในทุกสัปดาห์ๆ ละ 2 วัน วันละ 1 มื้อ โดยสับเปลี่ยนเมนูทุกสัปดาห์ และให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานเมนูนี้ตลอดปีการศึกษา
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนทุกคนได้รับประทานผักจากเมนูต่างๆที่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนได้จัดทำขึ้นสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1 มื้อ (รับประทานคู่กับเมนูหลักของวัน)โดยรับผลผลิตจากโครงการผักไฮโดรเพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมจัดทำแบบสรุปรายงานการดำเนินงาน ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน 2 เล่มๆละ 80รวม 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน /โรงเรียนมีร่องรอยหลักฐาน เอกสารการดำเนินงานครบถ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
2. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
3. โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันและนักเรียนได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
4. นักเรียนมีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน


>