กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านกาหยี
รหัสโครงการ 65-L3069-10(2)-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านกาหยี
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านกาหยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโละปูโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่ชอบรับประทานผัก
50.00
2 ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากการไม่เห็นคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์
30.00
3 ร้อยละพื้นที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมด
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542หมวดที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งให้ผู้เรียนรู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติในระดับสถานศึกษา ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในสถานการณ์โลกปัจจุบันนี้การบริโภคพืชผักถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์ เพราะพืชผักเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และกากใย อีกทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยในการเกิดโรค ต่างๆ จึงทำให้ความนิยมในการบริโภคผักมีมากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะพืชผักส่วน ใหญ่ที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป พบว่ามีสารพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ประชาชนส่วนใหญ่จึงหันมาสนใจดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งเชื้อโรคต่างๆที่ปนเปื้อนมากับการปลูกพืชบนดิน โดยหันมาบริโภคผักปลอดสารพิษซึ่งในปัจจุบันการผลิตผักปลอดสารพิษมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น การปลูกผัก แบบเกษตรอินทรีย์ การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักไร้ดิน (Hydroponics)ฯลฯ แต่การปลูกพืชบนดินมักมีปัญหาเกี่ยวกับโรค และแมลงในดิน รวมทั้งการจัดการปุ๋ยและระบบน้ำทำได้ยาก ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือการปลูกพืชไร้ดินนั้นเป็นการปลูกพืชที่เลียนแบบธรรมชาติ โดยการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร (Hydroponics) หรือ ปลูกลงในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน (soilless culture) ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าพืชต้องได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตผ่านระบบรากพืชพร้อมกับได้รับออกซิเจน และแสงแดดเพียงพอต่อการเจริญเติบโตทำให้พืชที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินมีการเจริญเติบโตเต็มที่ตามศักยภาพของพันธุกรรมเพราะสามารถใช้สารละลายธาตุอาหารและน้ำที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผักไฮโดรโปนิกส์เป็นพืชผักที่ปลูกง่ายและประหยัดพื้นที่ ผักไฮโดรโปนิกส์ประเภทผักสลัดนั้นมีประโยชน์มากมายสามารถบริโภคได้ตั้งแต่เด็กยันผู้สูงอายุ สามารถทานได้เพื่อสุขภาพและเพื่อการบริโภคต่างๆ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การเกษตรสามารถก้าวไกลไปได้อีกอีกทั้งยังสามารถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่ที่กว้างขวางมากนัก
โรงเรียนบ้านกาหยีมีนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 30 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด โรงเรียนจึงตระหนักและเห็นความสำคัญของสารอาหารที่นักเรียนควรจะได้รับ จึงได้จัดทำโครงการผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษ นอกจากนี้ผลผลิตที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
95.00 95.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้นักเรียนได้รู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  1. ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รู้วิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
95.00 74.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันและนักเรียนได้สารอาหารที่เพียงพอจากผลผลิตของโรงเรียน
  1. ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันจากผลผลิตโครงการผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีสารอาหารที่เพียงพอ
95.00 95.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

95.00 74.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 - 30 มิ.ย. 65 1. ผักวิเศษ 0 6,800.00 -
1 มิ.ย. 65 - 29 ก.ค. 65 2.หนูทำได้ 0 7,500.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 มื้อนี้เพื่อหนู 0 0.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3.ประชาสัมพันธ์ 0 540.00 -
1 - 30 ก.ย. 65 สรุปผลโครงการ 0 160.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนเห็นคุณค่าของการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
  2. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  3. โรงเรียนมีผลผลิตที่สามารถนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันและนักเรียนได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
  4. นักเรียนมีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2564 16:06 น.