กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ แกนนำ NCD รู้โรค รู้ยา ไม่ต้องมา ยาก็ถึง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

โรงพยาบาลยะหริ่ง

พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลยะหริ่ง ปี 2562-63 มีจำนวน 7,252 ราย และ 6,889 ราย โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 6,073 ราย และ 5,831 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ (BP < 140/90 mmHg ใน 2 visit) ในปี 2562-63 มีจำนวน 1,544 ราย คิดเป็น 25.42% และ 2,849 คิดเป็น 48.86% ตามลำดับ ระยะเวลารับบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยใน ปีงบประมาณ 2563 เท่ากับ 2 ชั่วโมง 49 นาที ระยะเวลารอรับยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชั่วโมงเร่งด่วน 11.30-12.30 น. เฉลี่ย 22.49 นาที มีทีมผู้ให้บริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ แพทย์ 1 คน , พยาบาล 4 คน , เภสัชกร 1 คน รับให้คำปรึกษากรณีผู้ป่วยมีปัญหาด้านยา ปัญหาที่พบในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การขาดการรักษาและขาดยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 26.58 ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับความดันโลหิต ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจ ไตและการเสียชีวิต และมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีดีกว่า ผู้ที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง
ปี 2564 ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง ได้ดำเนินงานจัดระบบการให้บริการด้านยาตามวิถี new normal ในโครงการ "แกนนำ NCD ดูแลยา อาร์ดียู" เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับบบริการในโรงพยาบาลยะหริ่งและสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โดยนำร่องในผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกเป็นแกนนำ NCD ในเขตเทศบาลยะหริ่ง จำนวน 21 คน ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในระบบการให้บริการแบบคลินิกเติมยาผ่านการนำส่งยาโดย อสม.ถึงบ้าน โดยไม่ต้องมารับบริการในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวก และพึงพอใจกับระบบนี้เป็นอย่างมาก แผนการดำเนินงานต่อในปี 2565 จะพัฒนาแกนนำ NCD ที่อยู่ในคลินิกเติมยาให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อใช้ในการดูแลตัวเอง ครอบครัว และชุมชน เกิดเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว
2) เพื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพและการใช้ยาแก่ผู้ป่วย
3) เพื่อสร้างแกนนำ NCD เป็นหนึ่งในทีม RDU ชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. คัดเลือกแกนนำ NCD ตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
1. คัดเลือกแกนนำ NCD ตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมแนวทางการดำเนินงานโครงการแก่ทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลยะหริ่ง และทีมชุมชน (จนท.PCU และทีม อสม.RDU)

- ค่าอาหารกลางวัน30 คน X 50 บาท X 1 มื้อ X 2 ครั้ง = 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 2 ครั้ง = 3,000 บาท - ค่าวัสดุเครื่องเขียน และอุปกรณ์= 4,500 บาท - ค่ากระเป๋ายาในคลินิกเติมยา = 4,500 บาท รวมเป็นเงิน 15,000 บาท 2. คัดเลือกผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกโรคเรื้อรังตามเกณฑ์กำหนดของคลินิกเติมยา (เพิ่มเติม) เฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง 3. สรุปผลการคัดเลือกผู้ป่วย เพื่อเป็นแกนนำ NCD

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตเทศบาลยะหริ่งที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 2. สร้างหลักสูตร 3D literacy (Drug-Disease-Dietary)

ชื่อกิจกรรม
2. สร้างหลักสูตร 3D literacy (Drug-Disease-Dietary)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมหารือทีมสหวิชาชีพจัดทำหลักสูตร 3D literacy (Drug-Disease-Dietary) แก่แกนนำ NCD
    • ค่าอาหารกลางวัน30 คน X 50 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง = 1,500 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง = 1,500 บาท
    • ค่าถ่ายเอกสาร=5,000 บาท
    • ค่าภาพพลิกให้ความรู้ในชุมชนจำนวน 4 ชุด ชุดละ 2000 บาท = 8,000บาท รวมเป็นเงิน 16,000บาท
  2. ให้ความรู้แก่แกนนำ NCD โดยใช้หลักสูตร 3D literacy จำนวน 2 ครั้ง ก่อนรับยาครั้งถัดไป (มี.ค ุ, มิ.ย. 65)
  3. ประเมินผลหลักสูตร พร้อมหาโอกาสพัฒนา
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลักสูตรNCD-3D literacy คปสอ.ยะหริ่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 3. สร้างนวตกรรมในระบบ Refilling clinic for stable HT (locker for U)โดยเครือข่ายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
3. สร้างนวตกรรมในระบบ Refilling clinic for stable HT (locker for U)โดยเครือข่ายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมทีม NCD-RDU ร่วมกับเครือข่าย เพื่อวางแผนพัฒนานวัตกรรมฯ - ค่าอาหารกลางวัน 30 คน X 50 บาท X 1 มื้อ X 1 ครั้ง = 1,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 1 ครั้ง = 1,500 บาท 2.จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในคลินิกเติมยาใน locker for U รวมถึงสื่อสาร ทำความเข้าใจแก่ผู้เกี่ยวข้อง - ค่าจัดทำสื่อขั้นตอนการให้บริการเติมยาผ่าน locker for U เพื่อสื่อสารแก่คนในชุมชน= 4,500 บาท 3.ประเมิน และติดตามระบบร่วมกับเครือข่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปแบบการให้บริการแบบ locker for U ในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ เข้าถึงบริการที่สะดวก รวดเร็ว
2) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อการจัดการตนเอง ครอบครัว และชุมชน


>