กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ แกนนำ NCD รู้โรค รู้ยา ไม่ต้องมา ยาก็ถึง
รหัสโครงการ 65-L8284-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยะหริ่ง
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ภญ.มูนาดา แวนาแว
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (38,500.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ๆผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลยะหริ่ง ปี 2562-63 มีจำนวน 7,252 ราย และ 6,889 ราย โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 6,073 ราย และ 5,831 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ (BP < 140/90 mmHg ใน 2 visit) ในปี 2562-63 มีจำนวน 1,544 ราย คิดเป็น 25.42% และ 2,849 คิดเป็น 48.86% ตามลำดับ ระยะเวลารับบริการผู้ป่วยนอกเฉลี่ยใน ปีงบประมาณ 2563 เท่ากับ 2 ชั่วโมง 49 นาที ระยะเวลารอรับยาผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชั่วโมงเร่งด่วน 11.30-12.30 น. เฉลี่ย 22.49 นาที มีทีมผู้ให้บริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ แพทย์ 1 คน , พยาบาล 4 คน , เภสัชกร 1 คน รับให้คำปรึกษากรณีผู้ป่วยมีปัญหาด้านยา ปัญหาที่พบในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การขาดการรักษาและขาดยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 26.58 ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นวิธีหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับความดันโลหิต ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจ ไตและการเสียชีวิต และมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีดีกว่า ผู้ที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง ปี 2564 ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลยะหริ่ง ได้ดำเนินงานจัดระบบการให้บริการด้านยาตามวิถี new normal ในโครงการ "แกนนำ NCD ดูแลยา อาร์ดียู" เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รับบบริการในโรงพยาบาลยะหริ่งและสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โดยนำร่องในผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลยะหริ่ง จากการดำเนินงาน พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับคัดเลือกเป็นแกนนำ NCD ในเขตเทศบาลยะหริ่ง จำนวน 21 คน ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในระบบการให้บริการแบบคลินิกเติมยาผ่านการนำส่งยาโดย อสม.ถึงบ้าน โดยไม่ต้องมารับบริการในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวก และพึงพอใจกับระบบนี้เป็นอย่างมาก แผนการดำเนินงานต่อในปี 2565 จะพัฒนาแกนนำ NCD ที่อยู่ในคลินิกเติมยาให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อใช้ในการดูแลตัวเอง ครอบครัว และชุมชน เกิดเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 38,500.00 3 38,500.00
1 มี.ค. 65 - 28 เม.ย. 65 1. คัดเลือกแกนนำ NCD ตามเกณฑ์ 30 15,000.00 15,000.00
1 มี.ค. 65 - 27 ส.ค. 65 2. สร้างหลักสูตร 4D literacy (Drug-Disease-Dietary) 30 16,000.00 16,000.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3. สร้างนวัตกรรมในระบบ Refilling clinic for stable HT (locker for U)โดยเครือข่ายในชุมชน 30 7,500.00 7,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้ เข้าถึงบริการที่สะดวก รวดเร็ว
2) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมโรคได้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อการจัดการตนเอง ครอบครัว และชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2565 00:00 น.