กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การทำปุ๋ยหมักเกษตรอินทรีย์อย่างปลอดภัยมาใช้ในระบบครัวเรือนและชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

งานสิ่งแวดล้อม ทต.อ่างทอง

-

ทต.อ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนให้ทำปุ๋ยหมักและเกษตรอินทรีในชุมชน

 

60.00

เทศบาลตำบลอ่างทอง ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรแก่เกษตรกรโดยจัดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจซึ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยเลือกกิจกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และแรงงานในครัวเรือน ตามความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายเป็นอันดับแรกและเลือกกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและภาวะราคาผลผลิตที่มีความผันผวนการพัฒนาเกษตรกรและชุมชนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง โดยผ่านการจัดกระบวนเรียนรู้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน และนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อส่งเสริมอาชีพภาคเกษตร เพื่อให้การทำการเกษตรของเกษตรกรมีความยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นสารอินทรีย์บางชนิด โดยนำวัสดุเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงดิน ซึ่งนอกจากการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังมีปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นให้ลองไปทำกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยหมักปลา น้ำหมักชีวภาพ ฯลฯหนึ่งในทางเลือกที่ทุกคนและทุกบ้านทำได้โดยไม่ต้องรอรถขยะมาจัดเก็บก็คือ การนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก โดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเก็บขยะมูลฝอยแล้ว ยังไม่เป็นภาระต่อสังคม ไม่ต้องเสียเวลาในการขุดหลุมฝัง แถมยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใส่ต้นไม้ในบ้านช่วยประหยัดอีกต่อหนึ่งด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร

เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

20.00 30.00
2 เพื่อให้เกษตรกร ได้รับการเรียนรู้แนวดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร

เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้

30.00 40.00
3 เพื่อพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน

ประชาชนสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน

30.00 45.00
4 เพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับเกษตรกร โดยการนำเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์

ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักและเพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง

50.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 83
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบรรยายทางวิชาการและ ฝึกอบรมการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบรรยายทางวิชาการและ ฝึกอบรมการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1ค่าป้ายโครงการขนาด๑.๒๐x๒.๔๐ ม.จำนวน๑ป้ายเป็นเงิน 5๐๐ บาท 2ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 90 คน x ๒๕ บาท จำนวน๑มื้อ เป็นเงิน 2,250บาท 3ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน จำนวน 2 รุ่นๆละ 2 ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน 2,4๐๐ บาท 4ค่าเช่าเต้นท์โค้งพร้อมโต๊ะเก้าอี้ 1 หลังๆละ 2,500 บาทเป็นเงิน 2,5๐๐บาท 5. ค่าเช่าเครื่องเสียง(ชุดเล็ก) 1 ชุด ๆ ละ 1,000 บาทเป็นเงิน 1,๐๐๐บาท 6. ค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับการฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แยกเป็น - มูลสัตว์ตากแห้ง 50 กระสอบๆละ 40บาท
- แกลบผสมมูลสัตว์ 50 กระสอบๆละ 25บาท
- รำละเอียด 50 กิโลกรัมๆละ15บาท
- ปุ๋ยยูเรีย 25 กิโลกรัมๆละ20บาท
- กากน้ำตาล20 ลิตร ๆ ละ 60บาท - สับปะรด 50 กิโลกรัมๆละ10บาท - ถังพลาสติกแบบมีฝาปิด ขนาด 200 ลิตร 1 ถัง 500 บาท เป็นเงิน6,700 บาท รวมรายจ่ายทั้งสิ้น15,350บาท(หนึ่งหมื่นห้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน50 กระสอบ สามารถแจกจ่ายให้ผุ้เข้ารับการอบรมนำไปใช้ประโยชน์ได้และประชาชนมีความรู้สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักและปรับใช้แนวเกษตรอินทรีย์ในครัวเรือนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง
2เพื่อนำเศษใบไม้เศษอาอาหารมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์
3 ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ มาใช้ประโยชน์
4เพื่อเพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก
5เพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี


>