กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การทำปุ๋ยหมักเกษตรอินทรีย์อย่างปลอดภัยมาใช้ในระบบครัวเรือนและชุมชน
รหัสโครงการ 65-L3365-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสิ่งแวดล้อม ทต.อ่างทอง
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 15,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภากร เรืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 83 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนให้ทำปุ๋ยหมักและเกษตรอินทรีในชุมชน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลอ่างทอง ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาถ่ายทอดความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรแก่เกษตรกรโดยจัดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจซึ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง โดยเลือกกิจกรรมการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และแรงงานในครัวเรือน ตามความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายเป็นอันดับแรกและเลือกกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและภาวะราคาผลผลิตที่มีความผันผวนการพัฒนาเกษตรกรและชุมชนเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง โดยผ่านการจัดกระบวนเรียนรู้ เพื่อสร้างการเรียนรู้และปฏิบัติร่วมกัน และนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อส่งเสริมอาชีพภาคเกษตร เพื่อให้การทำการเกษตรของเกษตรกรมีความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกชนิดที่ได้จากการหมักวัสดุเหลือทิ้งที่เป็นสารอินทรีย์บางชนิด โดยนำวัสดุเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น ทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงดิน ซึ่งนอกจากการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนแล้ว ยังมีปุ๋ยหมักจากวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ อีกมากมายที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่นให้ลองไปทำกัน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด ปุ๋ยหมักจากชานอ้อย ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ปุ๋ยหมักปลา น้ำหมักชีวภาพ ฯลฯหนึ่งในทางเลือกที่ทุกคนและทุกบ้านทำได้โดยไม่ต้องรอรถขยะมาจัดเก็บก็คือ การนำเศษอาหารไปทำปุ๋ยหมัก โดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเก็บขยะมูลฝอยแล้ว ยังไม่เป็นภาระต่อสังคม ไม่ต้องเสียเวลาในการขุดหลุมฝัง แถมยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใส่ต้นไม้ในบ้านช่วยประหยัดอีกต่อหนึ่งด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร

เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

20.00 30.00
2 เพื่อให้เกษตรกร ได้รับการเรียนรู้แนวดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร

เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตร สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้

30.00 40.00
3 เพื่อพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน

ประชาชนสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพ ของตนเองตามศักยภาพของครัวเรือน

30.00 45.00
4 เพื่อส่งเสริมการเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับเกษตรกร โดยการนำเศษอาหารและวัสดุอินทรีย์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ มาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์

ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักและเพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง

50.00 70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 1,200.00 1 15,350.00
23 มิ.ย. 65 อบรมให้ความรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบรรยายทางวิชาการและ ฝึกอบรมการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพ 90 1,200.00 15,350.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาใบไม้ลดลง 2เพื่อนำเศษใบไม้เศษอาอาหารมาทำปุ๋ยหมักเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ 3 ประชาชนคัดแยกขยะ ออกจากขยะชนิดอื่นๆ มาใช้ประโยชน์ 4เพื่อเพื่อให้ประชาชนมีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก 5เพื่อลดปัญหาหมอกควันและลดการใช้สารเคมี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2565 11:08 น.