กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปลูกพืชผักสวนครัวในโรงเรียนและในชุมชน ตำบลธาตุน้อย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุน้อย

โรงเรียนบ้านดินดำคำไฮ

โรงเรียนบ้านดินดำคำไฮ โรงเรียนบ้านธาตุน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.951.. คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 411 คน มีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ 530 คน

43.22
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

กิจกรรมการเรียนการสอน ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.1400.ชั่วโมง มีกิจกรรมการสอน Active play Active learning 400 ชั่วโมง

36.21

การขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพ มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน แต่สภาพปัจจุบัน เด็กนักเรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ดูแล ร่างกาย ขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน ไม่มีการวิ่งเล่น การละเล่นเหมือนสมัยก่อน ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวโภชนาการส่งเสริมให้เห็นความสำคัญการบริโภคผักและผลไม้วันละไม่น้อยกว่า 400 กรัม หรือ 5 ทัพพี การจัดกิจกรรมการปลูกและดูแลผักจะพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้นักเรียนมีร่างกายที่แข็งแรงและมีน้ำหนักและส่วนสูงสมวัยตามเกณฑ์อายุ การทำสวนจัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับสูดอากาศสดชื่น ผลการวิจัยหนึ่งพบว่าการทำสวนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลได้

การทำสวนเป็นเหมือนการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) แบบหนึ่งที่ทำให้ร่างกายหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน โดยการทำสวนในบ้าน เช่น การตัดเล็มกิ่งไม้ รดน้ำต้นไม้ การตัดหญ้าโดยใช้เครื่องตัดหญ้า และการกวาดใบไม้ จัดเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง (Moderate Intensity) ที่ไม่หนักจนเกินไป และเหมาะกับคนทุกช่วงวัย เสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ

การทำสวนเป็นกิจกรรมหนึ่งในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) จึงแนะนำให้คนทั่วไปออกกำลังกายแบบความหนักปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง
ช่วยในการทำงานของสมอง

การใช้เวลาอยู่กับต้นไม้และพืชพรรณต่าง ๆ ในสวนมีส่วนช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและช่วยเสริมสร้างความจำให้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยระบุว่า การทำสวนวันละ 20 นาทีเป็นประจำอาจช่วยเพิ่มปัจจัยช่วยเซลล์ระบบประสาทเติบโต (Brain Nerve Growth Factors)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) เป้าหมายผู้ที่มีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ 530 คน เป้าหมายภายใน 1 ปี อย่างน้อย 318 คน

43.22 60.00
2 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) กิจกรรมการเรียนการสอน ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.1400.ชั่วโมง เดิมมีกิจกรรมการสอน Active play Active learning 400 ชั่วโมง ควรเพิ่มอย่างน้อยเป็น 700 ชั่วโมง

36.21 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 951
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มอายุ 5-11 ปี ที่ยังมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ 530

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร

ชื่อกิจกรรม
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประชุมชี้แจงครูทุกท่านกิจกรรมเพิ่มกิจการทางกายนักเรียน โดยกำหนด

    • นักเรียนทุกคนทำความสะอาดเขตรับผิดชอบ 10 นาที
    • กิจกรรมขยับกายก่อนเริ่มเรียน5 นาที 5 ครั้ง/วัน
    • กิจกรรมดูแลผักสวนครัว 30 นาที
    • กิจกรรมขยับกายก่อนกลับบ้าน 20 นาที
  2. ครูประชุมชี้แจงผู้ปกครองให้มีการจัดกิจกรรมเพิ่มกิจกรรมทางกายนักเรียนในครัวเรือน เช่น การปลูกผักสวนครัว การมอบหมายงานบ้านกวาดบ้าน ถูบ้าน การทำความสะอาดบริเวณบ้าน ให้มีการออกกำลังกายที่บ้านสะสมแต้มโดยผู้ปกครองเป็นผู้บันทึกส่งผลการปฏิบัติให้ครู กำหนดเวลาในการใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์

  3. สร้างการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และรณรงค์เรื่องกิจกรรมทางกาย และการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เช่น การจัดนิทรรศการ เสียงตามสายในโรงเรียน อสม.ออกหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

  4. รวบรวมและกระจายสื่อ สื่อเอกสารคลิปสั้น เพื่อการเรียนรู้ เชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้านกิจกรรมทางกาย เพื่อให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชน ศูนย์เด็กเล็ก สถานที่ทำงาน 3. ชักชวนให้โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กผลิตสื่อการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้และการเล่นอย่างสร้างสรรค์ (Active learning active play) 4.พัฒนาหลักสูตรในพื้นที่ และกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่สอดแทรกเนื้อหา วิธีการสอนที่เน้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น เกษตรในโรงเรียน กิจกรรมปลูกป่า เดินสำรวจสมุนไพร กีฬาและการละเล่นไทย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะครูมีความเข้าใจแผนเพิ่มกิจกรรมทางกายของนักเรียน 2.แผนเพิ่มกิจกรรมทางการของนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างแกนนำนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
สร้างแกนนำนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำนักเรียน ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
  2. ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท
  3. ค่าป้ายเปิดโครงการ 1 ป้ายเป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำนักเรียนมีความรู้และทักษะกิจกรรมทางการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว 1. วัสดุ 11,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว ทุกวันๆละ 30 นาที

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายนักเรียน ติดตามสถานะสุขภาพ รายงานสะท้อนข้อมูลทุก 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการติดตามการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายนักเรียน นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
2. นักเรียนมีผักปลอดภัยบริโภค


>