กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการปลูกพืชผักสวนครัวในโรงเรียนและในชุมชน ตำบลธาตุน้อย
รหัสโครงการ L6597
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านดินดำคำไฮ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านธาตุน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ นายพินิต บุญเพ็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธาตุน้อย อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
ละติจูด-ลองจิจูด 15.31164,104.42625place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2565 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 951 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.951.. คน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 411 คน มีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ 530 คน

43.22
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

กิจกรรมการเรียนการสอน ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.1400.ชั่วโมง มีกิจกรรมการสอน Active play Active learning 400 ชั่วโมง

36.21

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขาดกิจกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 11,129 ราย และก่อภาระค่าใช้จ่าย ทางสุขภาพ มีข้อแนะนำการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย อย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน เด็กและวัยรุ่น (6 - 17 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงหนัก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน แต่สภาพปัจจุบัน เด็กนักเรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเท่าที่ควร ขาดการเอาใจใส่ดูแล ร่างกาย ขาดการมีกิจกรรมทางกาย มีกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่ำ ที่เรียกว่า “พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behaviour)” เช่น การนั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ การใช้คอมพิวเตอร์ การนั่งคุยกับเพื่อน การนั่ง หรือนอนดูโทรทัศน์ ที่ไม่รวมการนอนหลับ มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น โดยควร ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ด้วยการลุกขึ้นเดินไปมาหรือยืดเหยียดร่างกาย ทุก 1 ชั่วโมง และในเด็กปฐมวัย วัยเด็ก และวัยรุ่น ควรจำกัดการใช้คอมพิวเตอร์ นั่งดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในแต่ละวัน ไม่มีการวิ่งเล่น การละเล่นเหมือนสมัยก่อน ตลอดจนปัญหาเรื่องของปัญหาพฤติกรรมการกิน และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบอันนำมาสู่โรคอ้วนและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆจึงทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ตลอดเวลา มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วน ตลอดจนโรคไข้หวัดเรื้อรังซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกาย จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การให้ความรู้เกี่ยวกับภาวโภชนาการส่งเสริมให้เห็นความสำคัญการบริโภคผักและผลไม้วันละไม่น้อยกว่า 400 กรัม หรือ 5 ทัพพี การจัดกิจกรรมการปลูกและดูแลผักจะพัฒนาศักยภาพนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้นักเรียนมีร่างกายที่แข็งแรงและมีน้ำหนักและส่วนสูงสมวัยตามเกณฑ์อายุ การทำสวนจัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายพร้อมกับสูดอากาศสดชื่น ผลการวิจัยหนึ่งพบว่าการทำสวนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยลดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลได้

การทำสวนเป็นเหมือนการออกกำลังกายแบบแอโรบิก (Aerobic Exercise) แบบหนึ่งที่ทำให้ร่างกายหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเผาผลาญพลังงาน โดยการทำสวนในบ้าน เช่น การตัดเล็มกิ่งไม้ รดน้ำต้นไม้ การตัดหญ้าโดยใช้เครื่องตัดหญ้า และการกวาดใบไม้ จัดเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง (Moderate Intensity) ที่ไม่หนักจนเกินไป และเหมาะกับคนทุกช่วงวัย เสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจ

การทำสวนเป็นกิจกรรมหนึ่งในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต ป้องกันความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) จึงแนะนำให้คนทั่วไปออกกำลังกายแบบความหนักปานกลางเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง ช่วยในการทำงานของสมอง

การใช้เวลาอยู่กับต้นไม้และพืชพรรณต่าง ๆ ในสวนมีส่วนช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและช่วยเสริมสร้างความจำให้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยระบุว่า การทำสวนวันละ 20 นาทีเป็นประจำอาจช่วยเพิ่มปัจจัยช่วยเซลล์ระบบประสาทเติบโต (Brain Nerve Growth Factors)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) เป้าหมายผู้ที่มีกิจกรรมทางกายยังไม่เพียงพอ 530 คน เป้าหมายภายใน 1 ปี อย่างน้อย 318 คน

43.22 60.00
2 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) กิจกรรมการเรียนการสอน ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น.1400.ชั่วโมง เดิมมีกิจกรรมการสอน Active play Active learning 400 ชั่วโมง ควรเพิ่มอย่างน้อยเป็น 700 ชั่วโมง

36.21 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 15,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดการความรู้และนวัตกรรม และการสื่อสาร 50 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 65 สร้างแกนนำนักเรียน 20 3,200.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว 50 11,800.00 -
15 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 ติดตามประเมินผล 10 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
  2. นักเรียนมีผักปลอดภัยบริโภค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2565 13:27 น.