กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนสามวัยตำบลยาบี ขยับกายเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

กลุ่มคนรักสุขภาพตำบลยาบี

1. นายโมฮัมหมัดเจะปอ
2. นายอารีสฟีนเจะปอ
3. นายมะรอบี แวกะจิ
4. นายมะสาเฮะยูโซะ
5. นายมะยีเจะมะ

ต.ยาบี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนอายุที่่มีระหว่าง 10 - 20 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

31.80
2 ร้อยละของวัยกลางหรือวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 21 - 59 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน)

 

50.20
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 - 70 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน)

 

54.90

คนสามวัยประกอบด้วย วัยเด็กและเยาวชน วัยกลางคน และวัยผู้สูงอายุ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่งคงในชีวิตของคนทั้งสามวัย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ให้ครอบคลุมในทุก ๆ มิติ ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ของคนสามวัย จากการสำรวจข้อมูลสุขภาพของประชาชนตำบลยาบี ด้วยการตรวจสุขภาพประจำเดือน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี พบว่าประชาชนตำบลยาบี ยังขาดการทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและทำเป็นประจำ แยกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มวัยเด็กและเยาวชน
- ที่มีอายุระหว่าง 10 – 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 21.5 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
- ที่มีอายุระหว่าง 16 – 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.8 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ติดโทรศัพท์ ติดเกมส์ และไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มวัยกลางคนหรือวัยทำงาน อายุ 21 – 59 ปี ร้อยละ 50.2 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากต้องทำงานหารายได้ให้กับครอบครัว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และไม่มีเวลาว่าง ตามลำดับ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 – 70 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.9 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไม่เห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ต้องทำงานหารายได้ให้กับครอบครัว ตามลำดับ
จากข้อมูลข้างต้น กลุ่มคนรักสุขภาพตำบลยาบี ตระหนักถึงปัญหาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เกี่ยวกับสุขภาพของคนสามวัย จึงได้จัดทำโครงการคนสามวัยตำบลยาบี ขยับกายเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มคนสามวัย ให้ได้มีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอ เหมาะสม กับช่วงวัยอายุ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยการขยับกายหรือออกกำลังกาย ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และวิถีชีวิต รวมถึงมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 10 - 20 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

31.80 25.44
2 ร้อยละของวัยกลางหรือวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 21 - 59 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

50.20 40.16
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 - 70 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 20 นาทีต่อวัน)

1.คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 20 2.คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 20 3.คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 20

54.90 43.92

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 หัวข้อ“การดูแลสุขภาพ,หลักการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับช่วงวัย”1.2 หัวข้อ “กิจกรรมอบรมให้ความรู้หลักโภชนาการให้สมวัย

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ รุ่นที่ 1 มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บ x 50 คน = 2,500.-บ 2.ค่าอาหารว่าง 25.-บ X 50 คน X 2 มื้อ = 2,500.-บ 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 600.-บ X 6 ชม. = 3,600.-บ 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 3,750.-บ 5. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 3.0 เมตร x จำนวน 1 ป้าย = 900.-บ รวมเป็นเงิน 13,250.-บ

2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ รุ่นที่ 2 มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน 50.-บ x 45 คน = 2,250.-บ 2. ค่าอาหารว่าง 25.-บ X 45 คน X 2 มื้อ = 2,250.-บ 3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 600.-บ X 6 ชม. = 3,600.-บ 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์=3,375.-บ รวมเป็นเงิน 11,475.-บ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,725.-บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24725.00

กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การวิ่ง, การเดิน, การเล่นกีฬา, การทำสวน, การปลูกพืช ฯลฯ

ชื่อกิจกรรม
การออกกำลังกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การวิ่ง, การเดิน, การเล่นกีฬา, การทำสวน, การปลูกพืช ฯลฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย

1.ลูกฟุตบอลหนังอัด เบอร์ 5 จำนวน 10 ลูก X 450.-บ. = 4,500.-บ.

2.ลูกตะกร้อ จำนวน 10 ลูก X 250.-บ. = 2,500.-บ.

3.ตาข่ายตะกร้อ จำนวน 1 อัน X 550.-บ. = 550.-บ.

รวมเป็นเงิน 7,550.-บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2565 ถึง 6 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนสามวัยได้มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7550.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจวัดความสูง รอบอก รอบเอว น้ำหนัก ความดัน ประจำเดือน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจวัดความสูง รอบอก รอบเอว น้ำหนัก ความดัน ประจำเดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมตรวจสุขภาพ ร่างกาย

1.กิโลชั่งน้ำหนัก จำนวน 4 เครื่อง X 350.-บ = 1,400.-บ

2.สายวัดรอบอก จำนวน 10 เส้น X 25.-บ. = 250.-บ

3.มาตราวัดความสูงจำนวน 4 อัน X 50.-บ. = 200.-บ

รวมเป็นเงิน 1,850.-บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2565 ถึง 21 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนสามวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีสุขภาพที่แข็งแรง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

กิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. ค่าอาหารกลางวัน 50.-บ x 95 คน = 4,750.-บ

  2. ค่าอาหารว่าง 25.-บ X 95 คน X 2 มื้อ = 4,750.-บ

  3. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน X 600.-บ X 6 ชม. = 3,600.-บ

  4. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 3.0 เมตร x จำนวน 1 ป้าย = 900.-บ

รวมเป็นเงิน 14,000.-บ

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2565 ถึง 28 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนสามวัยเห็นความสำคัญของกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละของคนสามวัยแต่ละช่วงอายุที่ยังขาดการทำกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ หรือ ไม่เพียงพอในการทำกิจกรรมทางกายลดลงร้อยละ 20


>