กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ใส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอในกลุ่มเด็กอายุ 5-17 ปีโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่ใส

โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใส

1. น.ส.มยุรีสมใจ
2. นางลำเนาว์ยอดกระโทก
3. นายเสน่ห์ค้าสม
4. น.ส.อ้อมพร พุ่มร่วมใจ
5. น.ส.ละเอียดฝอยทอง

ตำบลแม่ใส อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

การทำกิจกรรมทางกายของนักเรียนอายุ 5-17 ปี มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 150 คน กิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลางถึงหนัก 73 คน

54.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

การทำกิจกรรมทางกายของวัยทำงานอายุ 18-64 ปี มีจำนวนวัยทำงานทั้งหมด 100 คน กิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลางถึงหนัก 12 คน

12.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

การทำกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ 65 ปี มีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 50 คน กิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลางถึงหนัก 5 คน

10.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

54.00 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

12.00 20.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

10.00 15.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกาย/ คัดกรองนักเรียน/จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน/ส่งเสริมนักเรียนและบุคลากร ครูทำกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกาย/ คัดกรองนักเรียน/จัดกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน/ส่งเสริมนักเรียนและบุคลากร ครูทำกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองเพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจสถานการณ์ปัญหาและโครงการ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและจัดทำแผนงานโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโรงเรียนด้วยกิจกรรมทางกาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 15 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจ สถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางกายในกลุ่มวัย 5-17 ปี
2.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูและแกนนำนักเรียนดำเนินการคัดกรองนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้ กลุ่มภาวะอ้วน  เริ่มอ้วน ท้วม สมส่วน ค่อนข้างผอม และ ผอมโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนชั้น ป.1-6 และชั้น ม.1-3 แล้วเทียบกับตารางของกรมอนามัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแยกกลุ่มนักเรียนออกเป็น5กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มอ้วน               จำนวน    คน
2.กลุ่มเริ่มอ้วน           จำนวน    คน
3.กลุ่มท้วม               จำนวน   คน 4.กลุ่มสมส่วน           จำนวน    คน 5.กลุ่มค่อนข้างผอม    จำนวน    คน 6.กลุ่มผอม               จำนวน    คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าใช้จ่ายกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะการทำกิจกรรมทางกายแก่นักเรียน แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ
    รุ่นที่ 1 ระดับมัธยมและครูฯ จำนวน 64 คน และรุ่นที่ 2 ระดับประถมศึกษา จำนวน 86 คน
  • การอบรมรุ่นที่ 1 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 64 คน x50 บาท เป็นเงิน3,200 บาท
  • การอบรมรุ่นที่ 2 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ x 86 คน x50 บาท เป็นเงิน4,300 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงๆละ 500 บาท x 2 รุ่นเป็นเงิน3,000 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตรๆละ 100 บาทเป็นเงิน300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2565 ถึง 16 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำกิจกรรมทางกายในระดับเพียงพอ 2.นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับการแก้ไข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 4 สนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีการทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนัก

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีการทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีการทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักโดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 5.1กิจกรรมการวิ่ง เดิน ทุกวันอย่างน้อย 30 นาที 5.2กิจกรรมการเต้นแอโรบิควันจันทร์อย่างน้อย 30 นาที 5.3กิจกรรมการเล่นกีฬาประเภทต่างๆตามความสนใจในวันอังคาร 5.4กิจกรรมการเล่นฮูล่าฮูป /การกระโดดเชือกหรือกระโดดหนังยางวันพฤหัสบดี 5.5กิจกรรมการแข่งขันกีฬาห้องเรียนในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน จำนวน 3 ครั้ง - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มและผลไม้ 3 มื้อ(ครั้ง) x 150 คน x 25 บาทเป็นเงิน 11,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและบุคลากรมีการทำกิจกรรมทางกายระดับปานกลางและหนักอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากการเข้าร่วมกิจกรรมทางกายทุกวันและประเมินสุขภาพก่อนและหลังการดำเนินการการจัดกิจกรรมทางกายโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนในโครงการชั้น ป.1-6 และชั้น ม.1-3 แล้วเทียบกับตารางของกรมอนามัยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง 1  เดือน / 1 ครั้ง ส่วนเด็กอ้วนติดตามเยี่ยมบ้านและพบผู้ปกครองทุกราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  นักเรียนร้อยละ 75  มีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน 2.  นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจวิธีการสร้างเสริมสุขภาวะ
3.  โรงเรียนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  ร้อยละ100 ตระหนักและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านแม่ใสระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ ระดับชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3และครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์
2.นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น
3. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเอาใจใส่ในการเสริมสร้างสุขภาวะของตนเองเพิ่มขึ้น


>